ความรับผิดและโทษทางอาญาสำหรับการดูหมิ่นออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ปพนธีร์ ธีระพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความรับผิดทางอาญา, โทษ, การดูหมิ่น, ออนไลน์

บทคัดย่อ

     

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของการดูหมิ่นออนไลน์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการดูหมิ่นออนไลน์ของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์บทบัญญัติทางกฎหมายของการกระทำดังกล่าวของประเทศไทย และ 3) หาข้อเสนอแนะ
ในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม เว็บไซต์ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาของการดูหมิ่นออนไลน์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ถูกนำมาวิเคราะห์สาระให้เห็นความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันในแง่ต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์จะออกมาในลักษณะของการพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่าประเทศไทยกำหนดความรับผิดสำหรับการดูหมิ่นผู้อื่นไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 โดยมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การกำหนดบทลงโทษให้เป็นเพียงความผิดลหุโทษไม่สอดคล้องกับผลร้ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างกับโทษจำคุกที่กฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดไว้ โดยผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี (ตามกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี สหพันธรัฐเยอรมนี) หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี (ตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน) ตามลำดับ

ด้วยเหตุนี้คณะผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ให้มีเนื้อความว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326/1 โดยมีเนื้อความว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นด้วย
การโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

References

M.Veena. (2564). Social Media คือ? รวมโซเชียลมีเดียที่ควรนำมาใช้ในธุรกิจของคุณ. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/what-is-social-media

สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2564). ด่าคนอื่นพล่อย ๆ ผิดกฎหมายหรือไม่. สืบค้น 22 มิถุนายน 2566, จาก https://justicechannel.org/lawget/qa-profane

ม.ป.ช. (ม.ป.ป.). ความผิดลหุโทษ. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก http://samedcity.go.th/ attachments/3054_บทความกฎหมายอาญา1 ความผิดลหุโทษ.pdf

เดลินิวส์ ออนไลน์. (2023). ช็อก! นศ.สาวฆ่าตัวตาย หลังโดนชาวเน็ต ‘บูลลี่’ แค่เพราะย้อมผมสีชมพู.สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dailynews.co.th/news/2029483/

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี. (2564). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2549). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิรรัชการพิมพ์.

คณิต ณ นคร. (2556). กระบวนการยุติธรรมในมุมมองของคณิต ณ นคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน

จิตติ ติงศภัทิย์. (2555). กฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนติบัณฑิตยสภา.

สุชาดา ศรีใหม่. (2559). หลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย ตามประมวล กฎหมายอาญาเปรียบเทียบพุทธวินัยบัญญัติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(2).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ วิกรณ์ รักษ์ปวงชน วิสาร พันธุนะ สุจินตนา ชุมวิสูตร และสุพจน์ สุโรจน์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญา 1: ภาคบทบัญญัติทั่วไป. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โกเมศ ขวัญเมือง พระครูธรรมธรสฐาพร ปภสฺสโร และพระครูปลัดอุดร ปริปุณฺโณ. (2564). การแบ่งประเภทของความผิดอาญา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2).

สุรพล ศุขอัจจะสกุล. (2546). การใช้ทฤษฎีทางอาชญาวิทยาในคำพิพากษาศาลชั้นต้น : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มความผิดที่เป็นความผิดในตัวเองและกลุ่มความผิดที่กฎหมายบัญญัติ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2565). พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562: ศึกษาหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษ กรณีบทบัญญัติของกฎหมายหมดความจําเป็น. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม).

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2564). หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(3).

สุดสงวน สุธีสร. (2547). อาชญาวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393

สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่ และทนงศักดิ์ ดุลยกาญจน์. (2549). หมิ่นประมาทและดูหมิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2527

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี. (2565). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิดและลหุโทษ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. (2544). กฎหมายอาญา ภาค 2-3. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Republic of Korean Criminal Code Article 311

Koran Legislation Research Institute. (2013). Criminal Act. Retrieved September 5, 2023, from https://elaw.klri.re.kr/eng_service/lawView.do?hseq=28627&lang=ENG.

Republic of Korean Criminal Code Article 312(1).

Strafgesetzbuch – StGB Section 185.

Criminal Code of the People's Republic of China Section 246.

Criminal Code of the People's Republic of China Section 98.

หยุด แสงอุทัย. (2547). กฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2561). กฎหมายอาญาชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Reed Hepler. (2022). What is China's Political System? Retrieved September 10, 2023, from https://study.com/learn/lesson/chinas-political-system-structure.html.

ปธาน สุวรรณมงคล. (ม.ป.ป.). สังคมนิยม. สืบค้น 10 กันยายน 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=สังคมนิยม.

เฉลิมชัยศรี เพ็ญตระกูลชัย. (2552). การคุ้มครองเกียรติ: ศึกษาคุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐาน

ดูหมิ่นเปรียบเทียบความผิดฐานหมิ่นประมาท. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26