ลักษณะต้องห้ามของอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ : ศึกษากรณีบุคคลที่เคยถูกลงโทษจำคุก

ผู้แต่ง

  • กนกลักษณ์ จุ๋ยมณี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

อาจารย์, มหาวิทยาลัยของรัฐ, โทษจำคุก

บทคัดย่อ

                            การที่กฎหมายกำหนดว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐทุกประเภท กล่าวคือ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ต้องไม่เคยถูกลงโทษจําคุก เว้นแตเปนความผิดที่ไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษนั้น ทำให้บุคคลบางคนไม่สามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยได้ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ กรณีบุคคลที่เคยถูกลงโทษจำคุก โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการวิจัยเอกสาร

                           ผลการวิจัยพบว่า แม้กฎหมายดังกล่าวจะมีข้อดี คือ เป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยของรัฐในด้านภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือขององค์กร การเป็นตัวอย่างที่ดีของอาจารย์ต่อนักศึกษา ป้องกันบุคคลที่เคยถูกลงโทษจำคุกกระทำความผิดซ้ำอีก และประชาชนทั่วไปไม่กล้ากระทำความผิด                   แต่กฎหมายดังกล่าวก็มีข้อเสีย คือ ไม่สอดคล้องตามหลักการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ไม่เสมอภาค ไม่สอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วน เป็นการไม่ให้โอกาสผู้ที่เคยถูกจำคุกตามทฤษฎีตราหน้า ดังนั้น ควรมีการแก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดว่าอาจารย์ของมหาวิทยาลัยของรัฐทุกประเภท ต้องไม่เคยถูกลงโทษจำคุก เว้นแต่เคยถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และพ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่า 5 ปี หรือเว้นแต่เคยถูกลงโทษจำคุกเพราะไดกระทําโดยประมาท

Author Biography

กนกลักษณ์ จุ๋ยมณี, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

-

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2558). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:

วิญญูชน, น. 219,221.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 พิมพ์ครั้งที่2.

กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน, น. 1232, 1256.

หยุด แสงอุทัย (แก้ไขและปรับปรุงโดยสมยศ เชื้อไทย) (2559). ความรู้เบื้องตันเกี่ยวกับกฎหมาย

ทั่วไป พิมพ์ครั้งที่ 20, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น. 168.

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2564). สรุปสาระความรู้โครงการฝึกอบรม หลักสูตร ส่งเสริมสิทธิ

เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1

ธันวาคม 2564, สืบค้น 31 กรกฎาคม 2566,

จาก https://www.ldd.go.th/Anticorruption/PDF/KM/KM08.pdf

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พิมพ์ครั้งที่

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, น. 204.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2560). หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัด

อำนาจรัฐ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, น. 96.

บรรเจิด สิงคะเนติ. เรื่องเดียวกัน, น. 125-126.

ปิรัชญาภรณ์ บุญชู. (เมษายน 2558 – กันยายน 2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำ

ผิดซ้ำของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษธนบุรี. วารสารสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12 (2), 115-116.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. ลิงก์หน่วยงาน. สืบค้น 14

มิถุนายน 2566, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/aboutus/weblink.html

กิตติบดี ใยพูล. (2544). ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการ

เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้พ้นโทษในการเข้าทำงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, น. 186.

เปี่ยมสุข นาคทอง. (2556). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของผู้เคยต้องโทษจำคุก

ในการรับราชการ: ศึกษากรณีข้าราชการพลเรือนสามัญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, น. 145-147.

ลำไผ่ ภิรมย์กิจ. (2561). การจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า

กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, น. ค.

นิศา ศิลารัตน์ และวาสิตา บุญสาธร. (2562). ปัจจัยและประโยชน์ในการรับผู้พ้นโทษเข้าทำงาน

ในองค์กร. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 11 (2), 92, 111.

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2564). กฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมของผู้กระทํา

ความผิด. วารสารรามคําแหง ฉบับนิติศาสตร์, 10 (1), 261-262.

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน,

สืบค้น 2 สิงหาคม 2566,

จาก https://humanrights.mfa.go.th/th/humanrights/obligation/index.php

ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิและสงเคราะห์ผู้พ้น

โทษ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

, น. 261.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2557), 10 เรื่องเด่น สิทธิมนุษยชนด้านกฎมายและการ

ปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติ, น. 29-30.

กิตติบดี ใยพูล. เรื่องเดียวกัน, น. 134.

กิตติบดี ใยพูล. เรื่องเดียวกัน, น. 63.

ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. เรื่องเดิม, น. 121-122.

University of Nairobi. Terms of service for Lecturer. Retrieved July 30, 2023, from

https://www.uonbi.ac.ke/terms-service-lecturer

University of Liverpool. (2021). What qualifications do you need to teach in higher

education?. Retrieved August 2, 2023, from https://online.liverpool.ac.uk/what-

qualifications-do-you-need-to-teach-in-higher-education/

Queensland Government. Become a university teacher. Retrieved August 2, 2023,

from https://www.qld.gov.au/education/jobs/teacher/uni

เปี่ยมสุข นาคทอง. เรื่องเดิม, น. 145-147.

กิตติบดี ใยพูล. เรื่องเดิม, น. 186.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-30