แนวทางการสร้างสื่อการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับบริบทพหุวัฒนธรรม ของนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ทองขาว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชลีรัตน์ มเหสักขกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นฤมล ฐานิสโร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้, สิทธิมนุษยชน, จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายไทย ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนและสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดทำสื่อการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับบริบทการศึกษาพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการใช้วิธีการศึกษาวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพัฒนาแนวทางและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ประสบปัญหาในด้านการจัดทำสื่อการเรียนรู้ เนื่องจากบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีการใช้ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสารเป็นหลัก นักเรียนในพื้นที่ดังกล่าวจึงยังคงมีปัญหาด้านการสื่อสารหรือการรับรู้และความเข้าใจในภาษาไทยอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจัดทำสื่อการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ควรจะต้องมีความหลากหลายทั้งในแง่ของรูปแบบของสื่อ เช่น การ์ดบัตรคำ บอร์ดเกม หรือคลิปวิดีโอรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชัน โดยสื่อต่าง ๆ ต้องมีการนำเสนอในรูปแบบทวิ-พหุภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษามลายูถิ่นควบคู่กัน เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในการสื่อสารสามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ง่ายขึ้น และการจัดทำสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ควรดำเนินการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนและโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

References

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 65.

ยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ, (2553). ภาษาเพื่อการสื่อสารในสื่อท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ภาษาและวัฒนธรรม, 29(2), 69-87.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). ประเภทของโรงเรียนเอกชน. สืบค้น 8 มกราคม 2567, จาก https://opec.go.th/aboutus?cate_id=2

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย. (2559). สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตสดใส: โครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้น 8 มกราคม 2567, จาก https://www.unicef.org/thailand/media/1296/file/

United Nations, (n.d.),Global Issue Human Right. Retrieved 5 March 2024, from https://www.un.org/en/global-issues/human-rights#:~:text=Human%20rights%20include%20the%20right,to%20these%20rights%2C%20without%20discrimination

Amnesty International Thailand, (n.d.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. สืบค้น 5 มีนาคม 2567. จาก https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/udhr/

มานิตย์ จุมปา. (2553). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)

(พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญา อาภากุล. (2540). การศึกษาพื้นที่ภาษาของภาษามลายูถิ่น ภาษาถิ่นใต้ทั่วไป และภาษาถิ่นตากใบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ : ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยใช้เกณฑ์การกระจายศัพท์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). มิติวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภาพอนาคตคืนสู่สันติ จังหวัดชายแดนใต้.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). นิยามคำศัพท์หลักสูตร หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จาก https://phichituta.files.wordpress.com/2014/10/definition-curriculum2551.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จาก http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-30