การคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ

ผู้แต่ง

  • รวดี สุทธิศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ขอความยินยอมจากลูกจ้าง;, ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ;, สิทธิปฏิเสธการติดต่อของลูกจ้าง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ โดยศึกษามาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยศึกษากฎหมายไทยกับหลักการของสหประชาชาติและกฎหมายของฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นข้อเสนอให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในการคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ จากการศึกษาพบว่า กรณีที่นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงด้วยวาจาให้ลูกจ้างทำงานนอกสถานประกอบกิจการทำให้เกิดปัญหาของผลในทางกฎหมาย ลักษณะการขอความยินยอมให้ลูกจ้างทำงานนอกสถานประกอบกิจการว่า ควรขอเป็นคราวเดียวตั้งแต่แรกทำสัญญาหรือขอความยินยอมจากลูกจ้างทุกครั้งเป็นคราวๆ ไปในการทำข้อตกลงกับลูกจ้างให้ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ การคุ้มครองสวัสดิการที่จำเป็นให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการและปัญหาสิทธิปฏิเสธการติดต่อเมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานที่ควรคุ้มครองลูกจ้างทั่วไป อันส่งผลให้ลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการได้รับความคุ้มครองไม่เพียงพอ ซึ่งควรนำหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายฟิลิปปินส์โดยนำแนวคิดการทำงานที่มีคุณค่า  สิทธิในการพักผ่อนของลูกจ้าง ทั้งนี้ เมื่อลูกจ้างปฏิเสธการติดต่อ นายจ้างจะนำเหตุนั้นมาลงโทษทางวินัยหรือประเมินผลการทำงานของลูกจ้างไม่ได้มาปรับใช้ให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการตกลงให้ลูกจ้างทำงานนอกสถานประกอบกิจการต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานให้ชัดเจน การกำหนดลักษณะความยินยอมในการทำงานนอกสถานประกอบกิจการต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป การจัดสวัสดิการที่จำเป็นสำหรับลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการที่ต้องได้รับน้ำดื่มที่สะอาดและการปฐมพยาบาลออนไลน์เบื้องต้น นอกจากนี้ ลูกจ้างควรมีสิทธิในการปฏิเสธการติดต่อกับนายจ้างเมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานทุกช่วง โดยให้รวมถึงเวลาพักระหว่างทำงานด้วย อันจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานประกอบกิจการ

References

อฑตยา นิลทองคำ. (2564). แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำงานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) ในประเทศไทย (เอกัตศึกษาปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8779&context=chulaetd

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). เชียงใหม่ออกประกาศขอทุกหน่วยงาน Work from Home หลังฝุ่นพิษรุนแรง-หวังลดผลกระทบสุขภาพประชาชน. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://mgronline.com/local/ detail/9660000032365

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2563). ผลกระทบของการทำงานนอกสถานประกอบกิจการ (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2564). ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/ viewer2300/web/viewer.php

เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2566). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Apollo Technical. (2024). Surprising Working from Home Productivity Statistics. Retrieved 5 January 2024, from https://www.apollotechnical.com/working-from-home-productivity-statistics/ ?fbclid=IwAR0PhQzp8xqCvj2IM5fam_L_dkly7uRa5t62hbKwcsTONxSYIhyi3eyw_l8

นวีนา วรรธนผลากูร. (2563). รูปแบบการปฏิบัติงานจากจากที่พักอาศัย (work from home) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: ศึกษากรณีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8538&context=chulaetd

อังคณา เตชะโกเมนท์. (ม.ป.ป.). งานที่มีคุณค่า (Decent Work). สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก http://ils.labour.go.th/attachments/091_Decentwork.pdf

สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564). Gig Economy คืออะไร กระทบกับบทบาทของ HR อย่างไร. สืบค้น

มกราคม 2567, จาก https://th.hrnote.asia/tips/210917-how-gig-economy-impact-hr/?fbclid=IwAR3J40X6N90NcPvaVUfaEyVbgCc-k9fPC5Vc9r_QQR4P9HL2rRhqCr4uUzk

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจแรงงานนนอกระบบ พ.ศ.2565. สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/Informal_work_force/2565/summary_65.pdf

คำพิพากษาฎีกาที่ 6067/2545

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2564). ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

กระทรวงแรงงาน. (2566). คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566. สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก https://legal.labour.go.th/images/law/Protection2541/7/12042023.pdf

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2564). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566, จาก http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F12912.pdf

International Labour Organization (ILO). (2017). C177 - Home Work Convention,1996 (No. 177). Retrieved 5 February 2024, from

https://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=NORMLEXPUB:12100:0::NO::P12100_INSTRUMENT_ID:312322

International Labour Organization (ILO). (2017). R184 - Home Work Recommendation, 1996 (No. 184). Retrieved 5 February 2024, from https://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=1000:12100:::NO:12100:P12100_INSTRUMENT_ID:312522

กลุ่มงานมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2022).อนุสัญญาและข้อแนะอื่นๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 จาก http://ils.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=9&Itemid=10

Republic of the Philippines Department of Labor and Employment. (2022). Department Order No.237 Series of 2022. Retrieved 5 February 2024, from https://www.dole.gov.ph/php_assets/uploads/2022/09/DO-237-22-Revised-Implementing-Rules-and-Regulations-of-RA-No.-11165-Otherwise-Known-as-The- Telecommuting-Act.pdf

ปิยะขวัญ ชมชื่น. (2563). พระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติงานจากที่บ้านของประเทศฟิลิปปินส์ (Telecommuting Act 2018). สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/Final_Telecommuting Act 2018 PH(2).pdf

Senate of the Philippines. (2022). Senate S.No.2475. Retrieved 5 January 2024, from https://legacy.senate.gov.ph/lisdata/3691033287!.pdf

ตรีเนตร สาระพงษ์. (2566). การทำงานทางไกล และสิทธิที่จะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลางาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ตรีเนตร สาระพงษ์. (2564). กฎหมายคุ้มครองแรงงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร.

วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2566). กฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Cartoon Tanaporn. (2565). ‘สวัสดิการพนักงาน’ เบื้องหลังความสำเร็จของ Google บริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยที่สุดในโลก. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2567, https://thegrowthmaster.com/company-culture/google?fbclid=IwAR3yHcH9q-ro-8T_PvjK9tn DueodzbKWbgwf9AMHo4Z7vQLfjswE-9P2_To#:~:text=มีอาหารให้ฟรี, กับเพื่อนร่วมงานได้

กระทรวงแรงงาน. (2566). คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566. สืบค้น 5 มกราคม 2567, จาก https://legal.labour.go.th/images/law/Protection2541/7/12042023.pdf

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). แนวปฏิบัติตามมาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (สำหรับนายจ้าง-ลูกจ้าง). สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2567, https://legal.labour.go.th/images/law/Protection2541/Guidelines_M23-1.pdf

พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น. (2566). คำอธิบายกฎหมายแรงงานเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมนิติ เพรส จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26