ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม : ศึกษาแนวคำวินิจฉัยจากคดีปกครอง
คำสำคัญ:
ประโยชน์สาธารณะ, คดีสิ่งแวดล้อม, วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากแนวคำวินิจฉัยคดีปกครอง เพื่อสร้างมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองชั่วคราวก่อน
การพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบจากกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งพิจารณากรณีศึกษาจากคำพิพากษาของศาลปกครองไทยและคำพิพากษาของต่างประเทศ
จากการศึกษาพบว่า กระบวนการพิจารณาคดีของศาลปกครองได้สร้างกลไกเพื่อคุ้มครองผู้ฟ้องคดี
หรือผู้มีส่วนได้เสียก่อนที่ศาลปกครองจะมีคำพิพากษา เรียกว่า “วิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา” ประกอบด้วย 1. การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง และ 2. การบรรเทาทุกข์ชั่วคราว สำหรับการคุ้มครองชั่วคราวในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ศาลจะต้องพิจารณาทบทวนถึงความรับผิดชอบของหน่วยงาน
ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐ ตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มากกว่าการคำนึงถึงประเภทและหลักเกณฑ์ของวิธีการชั่วคราวในคดีปกครองที่กำหนดไว้ในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ
ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 โดยศาลปกครองจะต้องปรับใช้ดุลพินิจ
อย่างเหมาะสมกับหลักการพื้นฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ตลอดจนศาลสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการที่ได้เคยกำหนดไปก่อนแล้วให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับสภาพปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งสามารถที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวมิให้ลุกลามจนยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง
References
สำนักงานศาลปกครอง. (2556). การเสวนาโต๊ะกลมตุลาการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3 “ความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมของอาเซียนกับบทบาทของศาล” พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ.
อนันต์ คงเครือพันธ์. (2560). แง่คิดในการพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวกับ “ประโยชน์สาธารณะ”. สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2540). ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน รวมบทความบางเรื่อง
เกี่ยวกับกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
สำนักงานศาลปกครอง. (2546). การปฏิรูปวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 3(1), 1–9.
วรรณภา ติระสังขะ. (2551). ศาลและวิธีพิจารณาคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศฝรั่งเศส.
ในวารสารวิชาการศาลปกครอง (บรรณาธิการ), ข่าวทางวิชาการที่สำคัญ นิติศาสตร์เสวนา ครั้งที่ 7/2551
การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมตามระบบกฎหมายต่างประเทศ, 8 (3), 153.
บุบผา อัครพิมาน. (2547). การทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง. แปลจากเอกสารประกอบ
การบรรยายของ Mme.Celia Verot Maiitres des requaetes สภาแห่งรัฐฝรั่งเศส. วันที่ 7 ตุลาคม 2547.
(น. 6). กรุงเทพ: สำนักงานศาลปกครอง.
เบญสุดา เฉลิมวิสุตม์กุล. (2552). ขอบเขตของกฎหมายสิ่งแวดล้อม และกฎหมายปกครองทางสิ่งแวดล้อม
ตามระบบกฎหมายเยอรมัน. เอกสารเสนอคณะอนุกรรมการด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม
ครั้งที่ 7/2552 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552. กรุงเทพ.
U.S. Environmental Protection Agency | US EPA. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566, จาก http://www.epa.gov /region5/annualreports/ irdeser.htm.
ประพจน์ คล้ายสุบรรณ. (สิงหาคม 2566). คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. การฝึกอบรมหลักสูตรพนักงาน
คดีปกครองระดับต้น รุ่นที่ 25, กรุงเทพ: สำนักงานศาลปกครอง. (อัดสำเนา)
สุรีย์ เผ่าสุขถาวร. (2551). ศาลปกครองสูงสุดเบลเยี่ยมกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม. รวมบทความทางวิชาการ (บรรณาธิการ), พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 259. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานศาลปกครอง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว