หลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะกับองค์การมหาชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมพงษ์ แซ่ตัน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • วัชระ กลิ่นสุวรรณ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักความเสมอภาค, หลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ, องค์การมหาชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาหลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ ซึ่งเป็นหลักการย่อยของหลัก
ความเสมอภาค และเป็นหลักการที่ปรากฏทั้งในระบบกฎหมายซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์ มีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่เกิดจากการที่รัฐหรือฝ่ายปกครองปฏิบัติภารกิจ และการปฏิบัติภารกิจนั้นมีผลกระทบจนเกิดความเสียหายหรือสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินสมควร โดยรัฐหรือฝ่ายปกครองต้องชดใช้เยียวยาความเสียหายแก่การกระทำนั้นให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน แม้ว่ารัฐหรือฝ่ายปกครองจะใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการกระทำละเมิดก็ตาม โดยพิจารณาสาระสำคัญของหลักการที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และไทย และศึกษาองค์การมหาชน
ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการจัดระบบหน่วยงานภาครัฐสำหรับการจัดทำบริการสาธารณะ โดยให้แยกออกจากหน่วยงานในภาคมหาชนเดิม และกำหนดให้มีลักษณะเฉพาะสำหรับการจัดทำภารกิจของรัฐตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งยังเป็นหน่วยงานที่ต้องผูกพันต่อหลักความเสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ จากการศึกษาพบว่า ทั้งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 มาตรา 24 ไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการองค์การมหาชนในการกำหนดหลักเกณฑ์ กรณีที่องค์การมหาชนปฏิบัติภารกิจแล้วไปก่อให้เกิดความเสียหายหรือสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินสมควร แต่องค์การมหาชนบางแห่งมีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อกำหนดเรื่องดังกล่าว เป็นรายกรณีเอง จึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและเป็นภาระแก่ประชาชนที่ต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องในการได้รับการชดใช้เยียวยาจากองค์การมหาชน ดังนั้น ควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์กลางสำหรับเป็นแนวปฏิบัติให้แก่องค์การมหาชนแต่ละแห่งต่อไป

References

Christopher Pierson. (2004). The Modern State. (2nd ed.). Routledge: New York.

ฌ็อง-โกล๊ด เวเนเซีย. (ม.ป.ป.). การพัฒนาเรื่องความรับผิดของฝ่ายปกครองในกรณีที่ไม่มีความผิดในรวมบทความทางวิชาการ เล่ม 1 : กฎหมายปกครอง ภาคสารบัญญัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

บุบผา อัครพิมาน. (ม.ป.ป.). หลักกฎหมายทั่วไป ใน รวมบทความทางวิชาการ เล่ม 1 : กฎหมายปกครอง ภาคสารบัญญัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2567). หลักพื้นฐานทางกฎหมายปกครอง: ข้อความคิดว่าด้วยรัฐฝ่ายปกครอง และอำนาจทางปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วัชระ กลิ่นสุวรรณ, สมพงษ์ แซ่ตัน, ชนินทร์ อินทรปัญญา และเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2567). อิทธิพลของวัฒนธรรมทางการเมืองกับการจัดทำบริการสาธารณะโดยองค์การมหาชนในประเทศไทย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 17 (1), 99-101.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2560). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วัชระ กลิ่นสุวรรณ, สมพงษ์ แซ่ตัน และเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2566). ปัญหาความเป็นอิสระขององค์การมหาชนในประเทศไทย, วารสารนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7 (2), 10-11.

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548

และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 และมาตรา 8

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 และ 7

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2566). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ข้อ 13 บัญญัติว่า “เพื่อธำรงไว้ซึ่งอำนาจสาธารณะและค่าใช้จ่ายทางการปกครองเป็นการจำเป็นที่จะต้องเรียกให้ (สมาชิกใน) สังคมเข้ามารับภาระในเรื่องนี้ร่วมกันการมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายสาธารณะจะต้องกำหนดสัดส่วนในระหว่างพลเมืองโดยเท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงความสามารถของพลเมืองแต่ละคน (ในการรับภาระค่าใช้จ่ายสาธารณะ)”

เดชา มหาเสนา. (2559). การนำหลักความรับผิดโดยปราศจากความผิดมาใช้ในการพิจารณาคดีปกครอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ศึกษาคดีปกครอง สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง. (ม.ป.ป.).

หลักความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

ภัทรดา เมฆานันท์. (2557). หลักความเสมอภาคกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน : ศึกษากรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กนกศักดิ์ พ่วงลาภ. (2566). ความรับผิดของฝ่ายปกครองเกี่ยวกับความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ, วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 15 (2), 97.

บท นามบุตร. (2567). “ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน”. สืบค้น 4 มิถุนายน 2567. จาก https://shorturl.asia/RCUdL

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.22/2551

สมฤดี ธัญญสิริ. (2567). “รับผิดโดยปราศจากความผิด” : ทำโดยชอบ แต่ต้องชดใช้ !. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://shorturl.asia/nOC6z

ยอดพล เทพสิทธา และฐานิตา บุญวรรโณ. (2561). รื้อสร้างบาระกำโมเดล : ความไม่เสมอภาคในการรับภาระสาธารณะ, CMU Journal of Law and Social Sciences, 11 (2), 142-143.

สุรพล นิติไกรพจน์. (2543). ความเป็นไปได้และแนวทางการตรากฎหมายจัดตั้งองค์การมหาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.

วัชระ กลิ่นสุวรรณ, สมพงษ์ แซ่ตัน และเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2567). เจตนารมณ์และผลสัมฤทธิ์

ขององค์การมหาชนในประเทศไทย: พัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 7 (1), 72.

Winfried R. Dallmayr. (1961). Public and Semi-Public Corporations in France. Law and Contemporary Problems, 26 (4), 759.

ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร. (2564). การปรับใช้หลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนญ ไปสู่หลักความเสมอภาคของบุคคลในการรับภาระของรัฐโดยศาลปกครองไทย, วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13 (2), 342-345.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2567). องค์การมหาชน ที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาตาม พ.ร.บ. 2542. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://po.opdc.go.th/content/OTU

พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ: แนวทางในการจัดทำประมวลกฎหมาย

ว่าด้วยการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ตัวอย่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 141 ตอนที่ 24 ก 26 เมษายน 2567 หน้า 1-275.

พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14

เธียรขวัญ พงศ์ปรีชา. (2556). แนวความคิดในการจัดให้มีองค์กรกลางเพื่อกำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการองค์การมหาชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ali Farazmand. (2001). Handbook of Comparative and Development Public Administration. New York: Marcel Dekker.

Zoltan Szente and Konrad Lachmayer. (2017). The Principle of Effective Legal Protection

in Administrative Law: A European comparison. New York: Routledge.

วัชระ กลิ่นสุวรรณ, สมพงษ์ แซ่ตัน และเกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2566). การพัฒนากฎหมายมหาชนภายใต้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 16 (2), 60-65.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2549). รายงานการวิจัย เรื่อง หลักการใช้อำนาจขององค์กรที่ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2567). มติ ครม. เกี่ยวกับการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐ. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://po.opdc.go.th/content/filelist/MjU5

พระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2548.

หนังสือโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ที่ รพบ./2744 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563

หนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1208/443 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2564

คำสั่งศาลปกครองสูงสุด คำร้องที่ 652/2565 คำสั่งที่ 1062/2566

ระเบียบคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2565

พงศพล มหาวัจน์. (2565). การใช้หลักนิติธรรมกับอำนาจทางปกครองของคณะรัฐมนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26