การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

Main Article Content

พจนีย์ ขำชาลี
รัชกร ประสีระเตสัง

บทคัดย่อ

 


 


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Research) แบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านประคำ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน เวลา 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากรายข้ออยู่ระหว่าง 0.30-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.47 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.75 และ 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นแบบทดสอบสถานการณ์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ One Sample  Wilcoxon  Signed  Ranks  Test  ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตาม (E1/E2) เท่ากับ 83.42/82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


3) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) ความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รัชกร ประสีระเตสัง, หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

หลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2525). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือฝึกอบรมวิทยากร การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนา

หลักสูตรสถานศึกษา. มปท. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2552). ศึกษิตแห่งศตวรรษที่ 20 : แนวคิดปฏิรูปการศึกษาไทย.

กรุงเทพฯ : ชัดมีเดีย จำกัด. จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2561). ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกม มิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน.

บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ญาณี เพชรแอน. (2557). การศึกษากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง อาหารกับ

สุขภาพรายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ณัฐกมล วัชรวงษ์ทวี. (2556). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป สาระ

ภูมิศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. ตฤณวัฒน์ พลเยี่ยม. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดแก้ปัญหาและ

เจตคติต่อวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการ

เรียนรู้แบบซิปปาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2545). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ.กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2554).“คำนำ”ใน ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อ

ศตวรรษที่ 21 แปลจาก 21st Century Skills เบลลันกา, เจมส์และแบรนด์,

รอน บรรณาธิการ กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.

พรรณี ชูทัย เจนจิต. (2545). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :

เสริมสินพรีเพรสิสเท็ม.

ว่าที่ร้อยตรีนิวัฒน์ บุญสม. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของ

กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพของ

นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

ศิลปากร. วิชัย วงศ์สุวรรณ.(2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง นโยบายการเงิน การคลังและการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้

วิธีสอนแบบบรรยายร่วมกับเทคนิคกราฟิกและสารสนเทศร่วมสมัยสำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556 ร.ร.ญ.ส. จ.สงขลา. วารสารมหาวิทยาลัย

นราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 30-40. วิพรพรรณ ศรีสุธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อ

ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษา ปีที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชัฏมหาสารคาม.

Arbesman, M.; & Puccio, G. (2001). Enhanced quality through creative

problem solving. Journal of Nursing Administration, 31. Bruner, J.S. (1963). The Process of Educational. New York : Alfred A. Knopf,

Inc. and Random House. Gagne, Robert M. (1994). A self-made man. Baltimore : Paul H Brookes.

Rodriguez-Fornells, A and A. Maydeu-Olivares. (2000).

“Impulsive/Careless Problem Solving Style as predictor of subsequent academic achievement,” Personality and Individual Difference. 28(2) : 639-645; December, 2000.

Vygotsky, L.S. (1997). Educational Psychology. Florida : CRC. Press LLC.