แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิค วิชาชีพแขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เพ็ดสะไหม จันทะลังสี
ไพศาล พากเพียร
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรวิทยาลัยเทคนิค วิชาชีพ  แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรวิทยาลัยเทคนิค วิชาชีพ แขวงจำปาสัก  สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์  ใช้สถิติ ใช้ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิค วิชาชีพแขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่าภาพรวมคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ที่ 3.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จำนวน 8 ด้าน พบว่า ด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง(=3.24,S.D.=0.77) ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.56, S.D. =0.60) ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.62, S.D.=0.53) ด้านความเจริญงอกงามและสวัสดิภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.66,S.D.= 0.58) ด้านการบูรณาการด้านสังคม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.72,S.D.= 0.54) ด้านสิทธิตามธรรมูนญ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.73,S.D.=0.57) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตส่วนตัว ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.75,S.D.=0.56) ด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.76, S.D.=0.51) 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคนิค วิชาชีพ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม ควรจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมเท่าเทียมกับบุคลากรอื่นในสายงานเดียวกัน โดยคำนึงถึง ค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ควรจัดสรรงบประมาณการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้วยการจัดให้มีการประชุม ฝึกอบรม สันมนา ทั้งภายนอกและภายในอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ไพศาล พากเพียร, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Thailand.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ประสิทธิ์ กุลบุญญา, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Thailand.

Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษา กรมอาชีวศึกษา.(2559). การพัฒนาอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ, 2559-2563.
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.(2550). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีวศึกษา และอบรมวิชาชีพ, 2549-2563, เวียงจันทน์: ม.ป.พ..
______. (2551). แผนยุทรศาสตร์การปติฎรูประบบการศึกษาแห่งชาติ 2549-2558, เวียงจันทร์ โรงพิมพ์แห่งรัฐ
ปิยวรรณ พฤกษะวันและกาญจนาท เรืองวรากร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานกรณีศึกษาบริษัท คลอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2540) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร.กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
Cascio, W. (2003). Managing human resources : Productivity, quality of work life, profits (6th ed.). Boston : McGraw.
Dessler, G. (1991), Human Resource Management. (8th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Dubrin. (1981), Human Relation : A Job Oriented Approach.Verginia : Reston Publishing.1981.
Duncan, K., & Pozehl, B. (2003), Effects of an exercise adherence intervention on outcomes in patients with heart failure. Rehabilitation Nursing, 28 (4), 117-122..
Walton, R. (1974), Quality of working life : What is it. management review. New York: MaGrew - Hill.