การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสร้างพฤฒิพลัง

Main Article Content

วันวิสาข์ ทิมมานพ
ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบกรอบแนวคิดในการพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสร้างพฤฒิพลัง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้สูงอายุ สุ่มแบบเจาะจง จำนวน 400 คน ใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่พบว่า พฤฒิพลัง ได้รับอิทธิพลทางตรงจากพรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .27 และ.67 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ ได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากพรหมวิหาร 4 ผ่านสังคหวัตถุ 4 โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .33 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัยสนับสนุน ผ่านสังคหวัตถุ 4 โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ .32 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

Mahaculalongkornrajavidyalaya University, Thailand

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2557) .สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง จำกัด (มหาชน)
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม,
John Tranphagan,(2018).The Practical of Concern: Ritual, Well-Being, And
Aging in Rural. Japan Journal, Religio & Health. Vol. 9 No. 46 (August).
Po-WenKu,Kenneth Fox & Jim Mckenng,(2007).The Chinese Aging Well Profile. Berlin: Springeer Science.