การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามหลักพุทธวิธี

Main Article Content

เกรียงไกร ปัญญาประเสริฐกุล
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

การอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีนับว่าเป็นการจัดการศึกษาเพื่อผลิตแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพสนองตอบความต้องการของตลาดแรงงาน หัวใจสำคัญของการจัดการระบบทวิภาคี คือความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารจัดการอย่างเป็นกระบวนการร่วมกันในทุกๆ ด้าน และการพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ซึ่งจำแนกเป็น 4 แนวทางหลัก ได้แก่ การบริหารจัดการระบบทวิภาคี ความร่วมมือ การจัดการเรียนการสอน และคุณลักษณะผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา นอกจากนี้ หากมีการบูรณาการหลักพุทธวิธีเพื่อไปใช้ในการพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีด้วยแล้วจะทำให้การพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามหลักพุทธวิธี ซึ่งหลักพุทธวิธีที่นำมาใช้ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในครั้งนี้คือ พละ 5 อันได้แก่ 1) สัทธาพละ คือ ความเชื่อ ความศรัทธา 2) วิริยะพละ คือ กำลังควบคุมความเกียจคร้าน 3) สติพละ คือ ความระลึกได้ ไม่เผลอ 4) สมาธิพละ คือ กำลังในการควบคุมความฟุ้งซ่าน และ 5) ปัญญา คือ ความรอบรู้


 

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

เกรียงไกร ปัญญาประเสริฐกุล, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์, Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Khonkaen Campus

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). นโยบายอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จีระพงษ์ หอมสุวรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธานินทร์ ศรีชมพู. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปัญญา แก้วกีรยูร. (2545). การบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบการใช้โรงเรียนหรือเขตพื้นที่เป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
พฒศ์ศิวพิศ โนรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตววิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ระวีวรรณ ชินะตระกูล. (2548). ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุภีร์ ทุมทอง. (2559). อินทรีย์ 5 พละ 5. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน: Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.industry.go.th/ict/
index.php?option=com_k2&view=item&id330
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
______. (2556). อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา.
______ (2556). ยุทธศาสตร์เร่งรัดพัฒนาอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก http://www.kycec.ac.th/document/Plan.docx
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สรุปผลการปฏิรูปการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2542-2551. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.onec.go.th/onec
______. (2555). การสังเคราะห์การศึกษาโครงสร้างการบริหารการศึกษาต่างประเทศและสรุปผลการสัมมนา. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.ops./moe.go.th/admin_ed/seminar/page.
php?mod=Book&file
สำนักงานโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. (2561). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก http://www.pimporn.nsdv.go.th/pr/dvt/d.htm
อุดมศักดิ์ มีสุข, สมภพ สุวรรณรัฐ, และ วรัทยา ธรรมกิตติภพ. (2560, กันยายน - ธันวาคม). “การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง”, วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(3): 221-235.
Thompson, J. F. (1973). Foundations of Vocational Education. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.