ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วัชราภรณ์ บุญมาเรือง
ประนอม คำผา
กิตติมา จึงสุวดี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ                 สินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภควัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี ที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าออนไลน์ และอาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


            ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าผ่าน Shopee ประเภทเสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย จำนวน 501 – 1,000 บาท ความถี่ในการซื้อสินค้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 49.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี โดยจำแนกตามเพศ แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการ ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ แตกต่างกันในด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกระบวนการ                          อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอาชีพ ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันในด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามสถานภาพสมรส แตกต่างกันในด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านกระบวนการ ไม่แตกต่างกัน      

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ประนอม คำผา, Faculty of Business Administration and Management

Faculty of Business Administration and Management

กิตติมา จึงสุวดี, Faculty of Business Administration and Management

Faculty of Business Administration and Management

References

คนไทยชอปออนไลน์-แม่ค้า-ลูกค้า-ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ. (2562). ตลาดอีคอมเมิร์ซ. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562. จาก: https://marketeeronline.co/archives.html.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชมพูนุช น้อยหลี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาวิชาเศรษศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ชอปปิ้งออนไลน์ : คนยุคใหม่จะซื้อของด้วยวิธีไหน. (2563). การชอปปิ้งออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2563. จาก: https://theurbanis.com.

นารีรัตน์ ฟักเฟื่องบุญ. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในศูนย์จำหน่าย เอส.บี. ดีไซด์ สแควร์ในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสยาม.

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน. (2563) สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2563 จาก: https://lb.mol.go.th

พรเทพ ทิพยพรกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปกร.

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊ก. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภิมภ์วิมล ปรมัตถ์วรโชติ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นแซดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศิริเพ็ญ มาบุตร. (2555). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ทรูวิชั่นส์ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) สาขาวิชาบริหารธุรกิจคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สถิติและพฤติกรรมการใช้ social media ทั่วโลก. (2563). สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2563 จาก: https://www.twfdigital.com.

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online : กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาการจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.

สุภาวรรณ ชัยทวีวุฒิกุล. (2555). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์แบบรวมกลุ่มกันซื้อบนเว็บไซต์ ENSOGO ของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.