หลักธรรมาภิบาลในการให้บริการประชาชนด้านงานทะเบียนและบัตร กรณีศึกษาสำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อุดม กองตองกาย

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมมาภิบาลในการให้บริการประชาชนในด้านงานทะเบียนและบัตร กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่โดยการกำหนดขนาดของตัวอย่างได้จำนวน 343 คนเป็นประชากรที่ใช้เป็นประชาชนที่มีรายชื่อในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรที่พักอาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มาวิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และความแปรปรวนระหว่างตัวแปร ซึ่งผลวิจัยพบว่าคุณภาพการบริการปะชาชนในด้านงานทะเบียนและบัตรโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยภาพรวมทั้ง 4 องค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 (SD = 0.49) นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า การบริการโดยใช้หลักการตรวจสอบ มีคุณภาพมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 รองลงมาคือหลักความโปร่งใส มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12ประชาชนมีความพึงพอใจในขั้นตอนการดำเนินงาน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 รองลงมา คือ การให้บริการของเจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม คุณภาพการให้บริการในด้านงานทะเบียนและบัตรโดยใช้หลัก ธรรมาภิบาล โดยภาพรวมทุกด้านที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ความพึงพอใจในการให้บริการในด้านงานทะเบียนและบัตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

วินัย วงศ์อาสา และภัชราภรณ์ ไชยสัตย์. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการ

จัดบริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี,

วารสารบริหารท้องถิ่น, 9(1), 83-99.

วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่ (Modern Research

Methodology). อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป

Murray, D. & Howat, G. (2002). The relationship among service quality, Value, satisfaction, and future intention of customer at an Australian sport and leisure center. Sport

Shekarau, I. (2010). Promotion of inter-ethnic harmony: A penecea for national development. Retrieved on January 14, 2012.

From www. ibrahimshakarau.com / index.php.

Wilkins, A. &Gobby, B. (2020). Governance and educational leadership: Studies in education policy and politics. In S. Courtney, H. Gunter, R. Niesche and T. Trujillo (eds) Understanding educational leadership: Critical perspectives and approaches. Bloomsbury: London