พฤติกรรมภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2

Main Article Content

หาญไกร เครือนพรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 2) ศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 และ 3) ศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต2 โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 296 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 อยู่ในระดับมาก 2) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 อยู่ในระดับมาก และ 3) พฤติกรรมภาวะผู้นำทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 พบว่ามี 3 ด้านได้แก่ (1) การพัฒนา ICT และ e-learning ของสถานศึกษา (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล และ (3) ด้านพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์รวม (R) เท่ากับ .728 สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครูได้ร้อยละ 53 (R2 = 0.530) และมีค่าสัมประสิทธิ์การผันแปรของแต่ละด้านในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน () เท่ากับ .399, .191 และ .162 ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้น สมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

กิตติพัฒน์ คำแพง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของครูกับ คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของนักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ. (2560). “ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน”. วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 7, 3 กันยายน- ธันวาคม, 141-158.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณพ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564, จาก http://ita.cme2.go.th/myfile/ 20210220348022131.pdf

สำนักงานคณะกรรการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 1 กันยายน). "การจัดการเรียนรู้แบบ ผสมผสานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์โค วิด-19" สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=gZSV5QYg3b8

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575 . กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูป การศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพ : บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19.กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). บทวิเคราะห์การพัฒนาการศึกษาอันเป็นผลมา จากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด. 176-177

อรพรรณ ทิมครองธรรม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ ครูสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสาร นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 9. 1 มกราคม – มิถุนายน, 101-106

Carman, J.M. (2003). Blended Learning Design: Five Key Ingredients. Retrieved from http://blended2010.pbworks.com/f/Carman.pdf

Lorico DS. Lapitan, Jr., Cristina E. Tiangco, Divine Angela G. Sumalinog, Noel S. Sabarillo, and Joey Mark Diaz (2021). An Effective Blended Online Teaching and Learning Strategy during the COVID-19 Pandemic, Education for Chemical Engineers. 2021 Apr; 35: 116-131. Retrieved September 1, 2021 from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC7847201/