การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธกในการเพิ่มความสุขของพนักงานกรณีศึกษา แผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ABC จำกัด ในยุค COVID-19

Main Article Content

ศุภกิจ คำมณีจันทร์
ธนาพันธ์ นัยพินิจ
นพดล มั่งมี
แสงโสม อมรรัตนพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษา การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธก ในการเพิ่มความสุขของพนักงานกรณีศึกษา แผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท  ABC จำกัด ในยุค COVID-19 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฏีสุนทรียสาธก ทฤษฎี SOAR จากผลการสัมภาษณ์ทำให้ค้นพบปัจจัยจุดร่วมที่เป็นสิ่งที่ประทับใจในที่ทำงาน จากผลการศึกษา พบว่า 1) หัวหน้างานและพนักงาน มีความสุขที่มีเพื่อนร่วมงานมีความรักสามัคคีให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือกันทำงาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยอมรับซึ่งกันและกันและพนักงานจะมีความสุขในความก้าวหน้าในอาชีพ การได้รับการสนับสนุนให้สามารถพัฒนาตัวเอง และความมั่นคง 2) ประสบการณ์เชิงบวก ความสุข ความประทับใจในการทำงาน มีจุดร่วม (Convergences) คือ บริษัทมีการจ่ายเงินโบนัสประจำปี เงินพิเศษ การปรับเงินเดือนประจำปี สวัสดิการต่างๆหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานให้ความช่วยเหลือ มีน้ำใจ มีความสามัคคี และจุดโดดเด่น (Divergences) คือ การที่ได้ช่วยโรงงานประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ บริษัทไปพัฒนาหมู่บ้านที่ตนเองอยู่อาศัย เพื่อนร่วมงานมีของขวัญให้ในวันสำคัญมีจุดร่วม (Convergences) คือ อยากให้เพื่อนร่วมงานมีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เอาเปรียบคนอื่น อยากให้พูดคุยสื่อสารกันเมื่อเจอปัญหา ไม่อยากให้พูดนินทากัน และมีจุดโดดเด่น(Divergences) คือ อยากให้ทุกคนพูดแต่เรื่องดีๆ อยากให้ทุกคนตรงต่อเวลา อยากให้ทุกคนทำงานได้ทุกตำแหน่ง จาดนั้นการประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธก 3) แนวทางการเพิ่มความสุขในการทำงาน คือ 2.การจัดทำโครงการแบ่งออก 2 ประเภท คือ โครงการระยะสั้นจำนวน 5 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอาหารกลางวัน (2) โครงการคุยกันวันละนิด ก่อนคิดเริ่มงาน (3) โครงการพี่สอนน้อง (4) โครงการออกกำลังกายวันละนิดจิตแจ่มใส (5) โครงการคุณธรรมน้อมนำชีวิต และโครงการระยะยาวจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการคนคุณภาพ (2) โครงการจดสักนิดชีวิตไม่ขัดสน การวัดผลและประเมินผลโครงการ โดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า ซึ่งโครงการที่ดำเนินการแล้ว คือโครงการระยะสั้น สามารถตอบสนอง ความต้องการของพนักงาน ในการเพิ่มความสุขในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานดีขึ้น พนักงานทำงานผิดพลาดน้อยลง มีการสื่อสารที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มมากขึ้น และลดข้อร้องเรียนจากลูกค้า

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธนาพันธ์ นัยพินิจ, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

College of Asian Scholars

นพดล มั่งมี , วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

College of Asian Scholars

แสงโสม อมรรัตนพงศ์, วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย

College of Asian Scholars

References

ขนิษฐา เมฆอรุณกมล. (2556). องค์กรอัจฉริยะ 17: แบ่งปันความสำเร็จเล็กๆ ข้ามองค์กร.

สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/264402 เมื่อ 17 มกราคม 2565

จ็อบส์ดีบีประเทศไทย, (2558). ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุข. สืบค้นจาก https://th.jobsdb.com. เมื่อ 8 มกราคม2565

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ จุลัยวรรณ ด้วงโคตะและนพพร ทิแก้วศรี, (2556) .มาสร้าง องค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ : สองขาครีเอชั่น

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). ดีพร้อม ชี้เทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกมาแรง เติบโตสวนวิกฤตเศรษฐกิจ.https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000024560

เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565.

วิชัย อุตสาหจิตและวัศยา หวังพลายเจริญสุข. (2558). การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะ

องค์กร กรณีศึกษา: องค์กรสร้างสุข. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(3), 191-201

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกร

ไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/GDP-y3937.aspx เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565.

ศากุน ทับทอง, (2558) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบขององค์กรแห่งความสุขกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท มิซูโน พลาสติก จำกัด: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมชูปถัมภ์.

สุรัดดา สายสิงห์และประเสริฐ ดำรงชัย. (2558).การใช้สุนทรียสาธกเพื่อสร้างประสบการณ์เชิงบวกในการปฏิบัติงานกรณีศึกษาบุคลากรงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์.ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558.วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Cooperrider, D.L., Whitney, D.K., & Stavros, J.M. (2003). Appreciative Inquiry

Handbook. San Francisco: Berrett-Koehler Publishers