การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธกในการเพิ่มความสุขของพนักงานกรณีศึกษา แผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ABC จำกัด ในยุค COVID-19
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การศึกษา การประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธก ในการเพิ่มความสุขของพนักงานกรณีศึกษา แผนกควบคุมคุณภาพ บริษัท ABC จำกัด ในยุค COVID-19 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฏีสุนทรียสาธก ทฤษฎี SOAR จากผลการสัมภาษณ์ทำให้ค้นพบปัจจัยจุดร่วมที่เป็นสิ่งที่ประทับใจในที่ทำงาน จากผลการศึกษา พบว่า 1) หัวหน้างานและพนักงาน มีความสุขที่มีเพื่อนร่วมงานมีความรักสามัคคีให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือกันทำงาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยอมรับซึ่งกันและกันและพนักงานจะมีความสุขในความก้าวหน้าในอาชีพ การได้รับการสนับสนุนให้สามารถพัฒนาตัวเอง และความมั่นคง 2) ประสบการณ์เชิงบวก ความสุข ความประทับใจในการทำงาน มีจุดร่วม (Convergences) คือ บริษัทมีการจ่ายเงินโบนัสประจำปี เงินพิเศษ การปรับเงินเดือนประจำปี สวัสดิการต่างๆหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานให้ความช่วยเหลือ มีน้ำใจ มีความสามัคคี และจุดโดดเด่น (Divergences) คือ การที่ได้ช่วยโรงงานประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ บริษัทไปพัฒนาหมู่บ้านที่ตนเองอยู่อาศัย เพื่อนร่วมงานมีของขวัญให้ในวันสำคัญมีจุดร่วม (Convergences) คือ อยากให้เพื่อนร่วมงานมีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เอาเปรียบคนอื่น อยากให้พูดคุยสื่อสารกันเมื่อเจอปัญหา ไม่อยากให้พูดนินทากัน และมีจุดโดดเด่น(Divergences) คือ อยากให้ทุกคนพูดแต่เรื่องดีๆ อยากให้ทุกคนตรงต่อเวลา อยากให้ทุกคนทำงานได้ทุกตำแหน่ง จาดนั้นการประยุกต์ใช้กระบวนการสุนทรียสาธก 3) แนวทางการเพิ่มความสุขในการทำงาน คือ 2.การจัดทำโครงการแบ่งออก 2 ประเภท คือ โครงการระยะสั้นจำนวน 5 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการอาหารกลางวัน (2) โครงการคุยกันวันละนิด ก่อนคิดเริ่มงาน (3) โครงการพี่สอนน้อง (4) โครงการออกกำลังกายวันละนิดจิตแจ่มใส (5) โครงการคุณธรรมน้อมนำชีวิต และโครงการระยะยาวจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการคนคุณภาพ (2) โครงการจดสักนิดชีวิตไม่ขัดสน การวัดผลและประเมินผลโครงการ โดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า ซึ่งโครงการที่ดำเนินการแล้ว คือโครงการระยะสั้น สามารถตอบสนอง ความต้องการของพนักงาน ในการเพิ่มความสุขในการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานดีขึ้น พนักงานทำงานผิดพลาดน้อยลง มีการสื่อสารที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มมากขึ้น และลดข้อร้องเรียนจากลูกค้า
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ขนิษฐา เมฆอรุณกมล. (2556). องค์กรอัจฉริยะ 17: แบ่งปันความสำเร็จเล็กๆ ข้ามองค์กร.
สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/264402 เมื่อ 17 มกราคม 2565
จ็อบส์ดีบีประเทศไทย, (2558). ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุข. สืบค้นจาก https://th.jobsdb.com. เมื่อ 8 มกราคม2565
ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ จุลัยวรรณ ด้วงโคตะและนพพร ทิแก้วศรี, (2556) .มาสร้าง องค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ : สองขาครีเอชั่น
ผู้จัดการออนไลน์. (2565). ดีพร้อม ชี้เทรนด์บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกมาแรง เติบโตสวนวิกฤตเศรษฐกิจ.https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000024560
เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565.
วิชัย อุตสาหจิตและวัศยา หวังพลายเจริญสุข. (2558). การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะ
องค์กร กรณีศึกษา: องค์กรสร้างสุข. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(3), 191-201
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกร
ไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/GDP-y3937.aspx เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565.
ศากุน ทับทอง, (2558) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบขององค์กรแห่งความสุขกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท มิซูโน พลาสติก จำกัด: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมชูปถัมภ์.
สุรัดดา สายสิงห์และประเสริฐ ดำรงชัย. (2558).การใช้สุนทรียสาธกเพื่อสร้างประสบการณ์เชิงบวกในการปฏิบัติงานกรณีศึกษาบุคลากรงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์.ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558.วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Cooperrider, D.L., Whitney, D.K., & Stavros, J.M. (2003). Appreciative Inquiry
Handbook. San Francisco: Berrett-Koehler Publishers