ปัจจัยส่งเสริมความผูกพันของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจ ตามหลักพุทธจิตวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ในการส่งเสริมความผูกพันการทำงานของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจตามหลักพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่งเสริมความผูกพันองค์กรของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจตามหลักพุทธจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันการทำงานของบุคลากร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบส่งเสริมความผูกพันการทำงานของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจตามหลักพุทธจิตวิทยา การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยรูปแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เชี่ยวชาญด้านพุทธจิตวิทยาและด้านความผูกพันองค์กร จำนวน 17 ท่าน และใช้แบบสอบถามปัจจัยส่งเสริมความผูกพันการทำงานของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจตามหลักพุทธจิตวิทยา จำแนกปัจจัยความพึงพอใจ ปัจจัยพุทธธรรม ความผูกพันองค์กร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ ระดับ 0.959 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจ 353 คน วิเคราะห์ขอมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี 6’C Technic และ Triangulation Technique วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธี การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณเชิงเส้น (Multiple Linear Regression Analysis) พบว่า 1) ปัจจัยส่งเสริมความผูกพันองค์กร ประกอบด้วย ปัจจัยความพึงพอใจ ปัจจัยหลักธรรมอิทธิบาท 4 และปัจจัยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 บุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจ มีระดับความผูกพันองค์กร อยู่ในระดับปานกลางและปัจจัยส่งเสริมความผูกพันองค์กร มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรในองค์กร สามารถพยากรณ์ความผูกพันองค์กร ได้ร้อยละ 0.738 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) รูปแบบส่งเสริมความผูกพันการทำงานของบุคลากรในองค์กรภาคธุรกิจตามหลักพุทธจิตวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นว่า มีความเหมาะสม เป็นไปได้ในการนําไปใช้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้จริง 3) องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ความผูกพันองค์กรของบุคลากร เป็นทรัพย์สินอันมีค่าขององค์กร ศูนย์รวมพลังขององค์กร คือ ผู้นำ ใช้สติปัญญา ความดีงาม ผลักดันให้บุคลากร มีความเต็มใจ ทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการ เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีงาม ยึดหลักธรรมอิทธิบาท 4 และสังคหวัตถุ 4 ในการบริหาร ถือว่าเป็น “พุทธภาวะผู้นำองค์กร” สร้างงานให้สำเร็จผล และสร้างคนทำงานให้มีความสุขในการทำงาน
Article Details
References
นภัทร์ แก้วนาค. (2565). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data AnalysisTechnic) (QDAT Knowledge เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
Frederick Herzberg and Others.(1959).The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.
ดาริน ปฏิเมธีภรณ์. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน บริษัท ขนส่งทางอากาศของเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาริษา ชูกิตติพงษ์ และ วัฒนา ศรีสัตย์วาจา. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงาน อิทธิบาท 4 และความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ยานยนต์. มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์,: ม.ป.ท.
ชนธิชา ทองมาก.(2560). อิทธิพลของความสุขในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมภาคตะวันออกของประเทศไทย วารสารการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นางสาว ปารณีย์ เปี้ยทา.(2020). Strategies for strengthening the organizational commitment of personnel sangha. Journal of Anam Nikaya Mahayana in Thailand.
ไฉไลฤดี ยุวนะศิริ และคณะ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นางสาวภัค วรธนเตชินท์. (2565). รูปแบบการสร้างความผูกพันตามหลักพุทธธรรมต่อองค์กรของครู สาหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย