การศึกษาความต้องการฝึกอบรมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของครูพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเลย

Main Article Content

ศุภกร โกมาสถิตย์
สุธนะ ติงศภัทิย์
รัชนี ขวัญบุญจัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการฝึกอบรมการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา ได้มาจากการสุ่มจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ด้านที่มีความต้องการฝึกอบรมมากที่สุดคือ ด้านการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.37  รองลงมาคือด้านการผลิตสื่อและอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย 4.25 ด้านทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.19 ด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 3.98 และด้านหลักการและปรัชญา มีค่าเฉลี่ย 3.77 ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมอนามัย. (2566). กรมอนามัย เผยเด็กไทยอ้วน เปิดอาหารชูสุขภาพเสริมออกกำลังกายป้องกัน.

สืบค้นจาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news0633-2/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). เอกสารแนวทางการ

ดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน” แนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

บุศรินทร์ ใจวังโลก, สุขแก้ว คำสอน, และเกรียงศักดิ์ สุวรรณวัจน์. (2561). การศึกษาความต้องการ

จำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(2), 470-484.

วันชัย กองพลพรหม. (2552). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในทัศนะของผู้บริหาร

สถานศึกษา ครูพลศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ในเขพื้นที่การศึกษา 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: สถาบันการพลศึกษามหาสารคาม.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). โครงการพัฒนาแนวทางทางการขยายผลต้นแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียน “โรงเรียนฉลาดเล่น (Active School)” (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสาวลักษณ์ ประมาน, ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไลและธีรนันท์ ตันพานิชย์. (2565). สมรรถนะครูพล

ศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 9(1), 153-164.

Barnett M. L., Hardy L. L., Lubans R. D., Cliff P. D., Okely D. A., Hills P. A., & Morgan J.

P. (2013). Australian children lack the basic movement skills to be active and healthy. Health Promotion Journal of Australia. 24(2) 82-84. Retrieved October 23, 2022, from

: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1071/HE12920