การสังเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วัชรี แซงบุญเรือง
สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์
พงศ์เทพ โคตรประทุม

摘要

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) ประเมินความเหมาะสมกับรูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น  2ขั้นตอนได้แก่ 1. การสังเคราะห์รูปแบบฯ ด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เอกสาร กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่  เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก กระบวนการคิดเชิงออกแบบ รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์นำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2. การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 5 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การสังเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.40, S.D. = 0.21) มี 5 องค์ประกอบ คือ 1. การวางแผน 2. การออกแบบ 3. การพัฒนา 4. การนำไปใช้ 5. การทดลองใช้/เผยแพร่ 2) การประเมินความเหมาะสมกับรูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก (X̅ = 4.73, S.D. = 0.21) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กรณิศ รัตนามหัทธนะ. (2561). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล.

Humanities, Social Sciences and arts. 12(6). 478-494

จงกลณี จงพรชัย และคณะ. (2559). อินโฟกราฟิกและการประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม.

Thai Bull Pharm Sci 2016;11(2). 98-120

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและแนวคิดการ

เรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน เพื่อการออกแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนและ

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครุศาสตร ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับ

ปริญญาตรีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Veridian E-Journal,

Silpakorn University. 10(2). 1330-1341.

สุวิสาข์ จรัสกลมพงศ์. (2563). รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในการ

ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(2),52-63.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.

กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review. (2), 84-95.

Seidel,V.P.,& Fixson,S.K. (2013). Adopting Design Thinking in Novice Multidisciplinary

Teams: The Application and Limits of Design Methods and Reflexive Practices. Journal of Product innovation Management,19-33.