การสังเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) ประเมินความเหมาะสมกับรูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2ขั้นตอนได้แก่ 1. การสังเคราะห์รูปแบบฯ ด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เอกสาร กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก กระบวนการคิดเชิงออกแบบ รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์นำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2. การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 5 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การสังเคราะห์รูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.40, S.D. = 0.21) มี 5 องค์ประกอบ คือ 1. การวางแผน 2. การออกแบบ 3. การพัฒนา 4. การนำไปใช้ 5. การทดลองใช้/เผยแพร่ 2) การประเมินความเหมาะสมกับรูปแบบเทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคการนำเสนออินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก (X̅ = 4.73, S.D. = 0.21) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้
Article Details
References
กรณิศ รัตนามหัทธนะ. (2561). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล.
Humanities, Social Sciences and arts. 12(6). 478-494
จงกลณี จงพรชัย และคณะ. (2559). อินโฟกราฟิกและการประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม.
Thai Bull Pharm Sci 2016;11(2). 98-120
เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและแนวคิดการ
เรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน เพื่อการออกแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนและ
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครุศาสตร ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต.
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับ
ปริญญาตรีคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Veridian E-Journal,
Silpakorn University. 10(2). 1330-1341.
สุวิสาข์ จรัสกลมพงศ์. (2563). รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาในการ
ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 31(2),52-63.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.
กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review. (2), 84-95.
Seidel,V.P.,& Fixson,S.K. (2013). Adopting Design Thinking in Novice Multidisciplinary
Teams: The Application and Limits of Design Methods and Reflexive Practices. Journal of Product innovation Management,19-33.