สภาพปัจจุบัน ปัญหา การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19) ได้เริ่มต้นขึ้นที่มณฑลฮู่เป่ยในประเทศจีนซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติรวมทั้งการศึกษา จึงจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา การศึกษาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียน 2. เปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดบึงกาฬ จำแนกตาม สถานภาพและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 380 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มประชากรแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีทั้งหมด 2 ฉบับได้แก่ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน (2) แบบสอบถามปัญหา ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของโรงเรียน ดังนี้ (1) ด้านสภาพปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาแบบปกติที่โรงเรียน(2) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการดำเนินการจัดการศึกษาแบบปกติที่โรงเรียน (3) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามขนาดของโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายด้านพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์ (On-air Education) และ ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสด (Online Education) มีสภาพปัจจุบันมีความไม่แตกต่างกัน (4) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามสถานภาพ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รายด้านพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสด (Online Education) มีความไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2563). กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย, https://www.skho.moph.go.th/eoc (1 มิถุนายน 2563 )
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2533). บทความวิชาการ ปัญหาครู : ปัญหาที่รอการปฏิรูป, https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2559/hi2559-091.pdf (1 พฤษภาคม 2563)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 , กรุงเทพมหานคร : บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด.
กุญชรี ค้าขาย. (2560). ความทั่วถึงและเท่าเทียมของการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, (บทคัดย่อ) ThaiEdResearch ฐานข้อมูลงานวิจัยทางการศึกษา http://www.thaiedresearch.org/index.php/home/paperview/79/?
คณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลหยุนหนาน. (2563). https://thestandard.co/onthisday120163/
คณะทำงานวิชาการ(Scientific Response Team), (2563) คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สำหรับประชาชน,กรุงเทพมหานคร,โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
จิรกิติ์ ทองปรีชา..(2563).การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 ระดับมัธยมศึกษา พื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา.(2563) อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสูงการปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย,สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรุงเทพฯ : 2557,
บริษัท สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด,จังหวัดนนทบุรี.
นำชัย ชีววิวรรธน์, (2563). คู่มือโควิด-19,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร (1 พ.ค.2563) https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/
สยมพร ศิรินาวิน.(2563). “โควิด-19” ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ,กรุงเทพมหานคร,สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.),
สุมน อมรวิวัฒน์ (2533). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2553.พิมพ์ที่โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต21. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. https://drive.google.com/file/d/1lMtg-sfmF1fqeBAB6aUoiQ5MuXhsEPFZ/view
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,(2563) แนวทางการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563,PowerPoint Presenttation
สุดา วงศ์สวัสดิ์ (2563),องค์ความรู้การดูแลสุขภาพใจในสถานการณ์การระบาด โควิด-19 “ใจพร้อม ไม่ยอมป่วย” นนทบุรี,กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข,
อัมพร พินสา.(2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, (บทคัดย่อ) การวิจัยเพื่อประกอบ การศึกษา หลักสูตร วปอ.วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60 ,20 กรกฎาคม 2563 http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8596s/
อำนาจ วิชยานุวัติ.(2561). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 , 25 มิถุนายน 2563 , https://www.obec.go.th/archives/250059
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ .(2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2553,พิมพ์ที่โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง
อาณัติ รัตนถิรกุล .(2563).สร้างระบบ e-Learning ด้วย moodle www.se-ed .com
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19 ,วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40) พฤษภาคม – มิถุนายน 2564, 33-42.
Abubakar Mohammed, Sanjeev Kumar, Bashir Maina Saleh, Aishatu Shuaibu (2017,บทคัดย่อ) เครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษ E-Learning: https://www.researchgate.net/publication/321304469 (10 มิถุนายน 2563)
Krejcie R. V. & Morgan, D. W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.