การพัฒนาทักษะการเขียนคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยต้อนวิทยา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน

Main Article Content

ฐิติรดา เปรมปรี
กมลวรรณ ด่านแก้ว
สุภัสตรา ไชยไข

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยต้อนวิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็น (Brain-Based Learning : BBL) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยต้อนวิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยต้อนวิทยา จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) จำนวน 3 แผน2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent Samples) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ด้านการพัฒนาทักษะการเขียนคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ (Brain-Based Learning : BBL) พบว่าการประเมินการใช้แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( X̅ = 4.60) 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ (Brain-Based Learning : BBL) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 10.60 และหลังเรียนเท่ากับ 16.66

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2539). บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทาน

กระแสพระราชดำริ เรื่องปัญหาการใช้คำไทย ในการประชุมทางวิชาการ ชุมนุม

ภาษาไทย. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรรยพร ล้นเหลือ, พิสิฐ เทพไกรวัล, ฐิติรัตน์ ชอว์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2562, มกราคม-

มิถุนายน). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based

Learning : BBL) เรื่องการทำงานของสมอง วิชาการออกแบบกิจกรรมที่

สอดคล้องกับการเรียนรู้ของสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา

การศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 9(1),

-172.

ฐิตรดา เปรมปรี. (2560, มกรากม - มิถุนายน). การศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพการเรียน

การสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. วารสารวิชาการ มทร.

สุวรรณภูมิ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 69-78

ณัฐวรา ปรีชายุทธ , ชนิดา มิตรานันท์ และ ฑมลา บุญกาญจน์. (2565, มกราคม-มิถุนายน).

การศึกษาความสามารถในการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของผู้เรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีปัญหาด้านการเขียน โดยใช้เทคนิคคำคุ้นตาร่วมกับ

วิธีการสอนตามแบบทัศนธาตุ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 11(1),

-63.

นีรนุช นิลทะการ และ รัชนิวรรณ อนุตระกูลชัย. (2564, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนา

ทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบสมองเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 3.

วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(1), 406-415.

วัลภา ศศิวิมล. (2531). รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบฝึกการเขียนตัวสะกดการันด์

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก.

วีณา ประชากูล และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2553). รูปแบบการเรียนการสอน.

มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุไร ซิรัมย์, พรทิพย์ ไชยโส, พิกุล เอกวรางกูล, ทรงชัย อักษรคิด.(2563, มกราคม -

มิถุนายน). เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.

วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 193

อรพรรณ ภิญโญภาพ. (2529). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำยากแบบทักษะ

สัมพันธ์ของนักเรียนชนประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ :

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.