ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน(Krejcie and Morgan) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 224 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้ข้อมูลกลับมาจำนวน 205 คน คิดเป็นร้อยละ 91.52 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 14 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น () ผลการศึกษาพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 14 ทักษะ 2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ในภาพรวมพบว่าผู้บริหารสถานศึกษามีระดับทักษะการบริหารในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.361, S.D. = 0.826) โดยทักษะด้านการศึกษาและการสอน มีสภาพที่เป็นอยู่ มากที่สุด (= 3.430, S.D. = 0.816) รองลงมาคือ ทักษะด้านการสร้างทีมงาน (= 3.423, S.D. = 0.785) และในภาพรวมมีระดับทักษะการบริหารในสภาพที่ควรจะเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.513, S.D. = 0.499) โดยทักษะด้านมนุษย์ มีสภาพที่ควรจะเป็น มากที่สุด (= 4.580, S.D. = 0.494) รองลงมาคือ ทักษะด้านการศึกษาและการสอน (= 4.576, S.D. = 0.494) ซึ่งมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ( ) ในภาพรวม เท่ากับ 0.344 โดยทักษะด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมากที่สุดเป็นอันดับแรก ( = 0.408) รองลงมาคือ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ( = 0.391)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำ
นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สุวิมล ว่องวาณิช. 2548. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทีป คงเจริญ (2564) การพัฒนารูปแบบการเรียนการอสนตามแนวคิดกระบวนการคิด
เชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดความผูกพันต่อโรงเรียนของครองครัวและชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรูและนวัตกรรมสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. บัณพิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร
World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020. Retrieved
January 7, 2021, from https://www. weforum.org/reports