แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 (2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 (3) เพื่อประเมินของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต1กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าบริหารงานทั่วไป จำนวน 264 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ แบบสอบถาม แบบประเมินแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ค่าดัชนีความสำคัญต้องการจำเป็น (PNI modified) ภาวะผู้แบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 พบว่าความสำคัญต้องการจำเป็น โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ด้านการบริการ (2) ด้านการรับฟังที่ดี (3) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (4) การเสริมสร้างพลังอำนาจ และ (5) ความนอบน้อม ทำการยกร่างโดยผู้วิจัย และนำร่างแนวทางที่ได้ไประดมสมอง (Brainstorming) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน เพื่อประกอบและยืนยันร่าง 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ในแต่ละด้านประกอบด้วย (1) ด้านการบริการมี 2 แนวทาง (2) ด้านการรับฟังที่ดีมี 2 แนวทาง (3) ด้านการมีวิสัยทัศน์มี 3 แนวทาง (4) การเสริมสร้างพลังอำนาจมี 2แนวทาง และ (5) ความนอบน้อมมี 2 แนวทาง ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้ได้
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เจียระไน ไชยนา. (2553). ภาวะผู้นําแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเปนมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ขาวฟาง.
พิชาวีร์ เมฆขยาย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรการอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สำหรับผู้นำกิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Daft, R.L. (1999). Leadership theory and practice. Florida : The Dryden Press,.
Daft, R.L. (2002). The Leadership Experience. ed. Fort Worth, Tx : Harcourt, College.
Greenleaf, R.K. (1977) Servant Leadership : A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. NJ: Paulist Press.
Laub, J. (1999). Defining Servant Leadership : A Recommended Typology for Servant Leadership Studies.