การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีด้วยแอฟพิเคชั่น เพื่อยกระดับการตลาด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก“พืชพื้นถิ่น” เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดชัยภูมิ
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการฝึกอบรมแอฟพิเคชั่นเพื่อยกระดับการตลาด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก“พืชพื้นถิ่น”เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อฝึกอบรมผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีสร้างอาชีพการขายสินค้าออนไลน์เพื่อยกระดับการตลาดสำหรับผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก“พืชพื้นถิ่น”เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดชัยภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ประชาชน ผู้ปกครอง ครู/บุคลากร/ผู้บริหาร พระสงฆ์ และผู้ซื้อผลิตภัณฑ์(นักท่องเที่ยว,ผู้ที่สนใจ) กลุ่มเครือข่ายพืชพื้นถิ่น จังหวัดชัยภูมิ และได้เลือกหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 1 เครือข่ายเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพบุคลากรในการปลูกพืชพื้นถิ่นที่อยู่คู่กับจังหวัดชัยภูมิ และในขณะเดียวกันชุมชนกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสูง ผลการวิจัยมีดังนี้
ผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการฝึกอบรมแอฟพิเคชั่นเพื่อยกระดับการตลาด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก “พืชพื้นถิ่น” เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดชัยภูมิ พบสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการฝึกอบรมของกลุ่มชาติพันธุ์ญัฮกุร พบว่า สภาพปัญหาปัจจุบันของกลุ่ม คือ ต้องการขยายกลุ่มลูกค้า ต้องการหาตลาดเพื่อขยายยอดการสั่งซื้อมากยิ่งขึ้น ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์สินค้าเท่าที่ควร จากการอภิปรายและสนทนากลุ่มได้ข้อสรุปแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการฝึกอบรมแอฟพิเคชั่นเพื่อยกระดับการตลาด การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก“พืชพื้นถิ่น” โดยใช้ เว็บเพจของ Face Book เป็นเครื่องมือในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก“พืชพื้นถิ่น” ของกลุ่มชาติพันธุ์ญัฮกุร
ผลการฝึกอบรมผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีสร้างอาชีพการขายสินค้าออนไลน์เพื่อยกระดับการตลาดสำหรับผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาก“พืชพื้นถิ่น”เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดชัยภูมิ พบว่าจากการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสร้างอาชีพการขายสินค้าออนไลน์ จํานวน 20 คน พบว่า ผู้ข้าอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ =4.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยสามอันแรก คือ ด้านการนำความรู้ไปใช้ได้ค่าเฉลี่ย 4.66 ระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านวิทยากร ค่าเฉลี่ย 4.52 ระดับมากที่สุด และด้านสถานที่ / ระยะเวลา / อาหาร / ประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ย 4.48 ระดับมาก ตามลำดับ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
โกสินทร์ ชำนาญพล. และสุดาใจ โล่ห์วนิชชัย, “การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ”. รายงานวิจัย, นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,2562
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร และคณะ, “แนวทางพัฒนาการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนดชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า จังหวัดนครปฐม”. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2563): 115-127.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf [25 สิงหาคม 256]
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf [25 สิงหาคม 256]
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, Thailand 4.0. วารสาร “ไทยคู่ฟ้า”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/ [25 สิงหาคม 256]