รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน)

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระครูปลัดวีระ อคฺคจิตฺโต (มงคล)
ประจิตร มหาหิง
พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ

摘要

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารการจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชน แบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้แทนพระสงฆ์ ผู้แทนผู้นำชุมชน ผู้แทนเจ้าหน้าที่ป่าไม้และผู้แทนบุคคลทั่วไปในเขตพื้นที่วิจัยรวมจำนวน 123 รูป/คน การวิจัยเชิงคุณภาพสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 รูป/คน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analyze) เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า :1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารการจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชน แบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย สภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า Pni 2) ผลของการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชน แบบมีส่วนร่วม โดยพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยได้สร้างรูปแบบพร้อมทั้งพัฒนา เกิดเป็น ต้นโพธิ์โมเดล (BTFM) ที่บูรณาการด้วยอิทธิบาท 4 และขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพคือ PDCA กับ 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1. ด้านการมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์ 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3. ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และ 4. ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล 3) ผลการประเมินรูปแบบพบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles

参考

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของ บวร เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของชุมชนคุณธรรมน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร.

วีนะวัฒนานนท์และชื่นบาน สีพันผ่อง วินัย. (2557: 73). การศึกษาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้งติ้ง เฮาส์ .

ศรีสะอาด บุญชม. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองพุทธศาสนศึกษา. (2558). แผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา,. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อมรวิวัฒน์ สุมน. (2542, หน้า 32-34). การพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

อ้างใน บุญชม ศรีสะอาด เครซซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan 1970). (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ ๙, สุวีริยาสาส์น.

อาจารสุโภ พระมหาวิรัตน์. (2559, หน้า 294). พระพุทธศาสนากับป่าไม้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอกะกุล ธีรวุฒิ. (2543, หน้า 46). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: ราชภัฎอุบลราชธานี.