การสอนแบบบูรณาการคณิตศาสตร์กับพระอภัยมณีเพื่อพัฒนาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทยสำของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

Sinchai Jansem

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยในการเรียนแบบูรณาการคณิตศาสตร์กับนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แนวการสอนแบบบูรณาการคณิตศาสตร์กับนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี 2) แบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเก็บรวมรวมข้อมูลก่อนและหลังการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่งเบนมาตรฐาน และ และใช้ t-paired test ในการเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนก่อนและหลังการสอน ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเรียนเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 (SD=1.11) และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.2 (SD=0.97) และเจตคติหลังการเรียน วิชาคณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.1 (SD=1.62) วิชาภาษาไทยมีค่าเลี่ยเท่ากับ 3.8  (SD=1.21) เมื่อทดสอบโดยใช้ t-paired test พบว่าเจตคติก่อนการเรียนแตกต่างจากหลังการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ทั้งสองวิชา

Article Details

How to Cite
Jansem, S. (2020). การสอนแบบบูรณาการคณิตศาสตร์กับพระอภัยมณีเพื่อพัฒนาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทยสำของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 42(1), 46–54. https://doi.org/10.1016/manutparitat.v42i1.242341
บท
บทความวิจัย

References

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์ (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติทางการเรียน เรื่อง การชั่งและการตวงของ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ที่เน้นทักษะการเชื่อมโยง ระหว่าง คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม 2556 - มิถุนายน 2556.
พิรุณโปรย สำโรงทอง (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
กับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การ มัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ถ่ายเอกสาร
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
แอล ที เพรส.
สินชัย จันทร์เสม และกุสุมา คำผาง (2562). ตรรกะเชิงคณิตศาสตร์ในพระอภัยมณี. วารสารมนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์. ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)
สฺริพัชร์เจษฎาวิโรจน์. 2546. การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
ศักดิ์ สุนทรเสณี. (2531). เจตคติ. กรุงเทพฯ: ดี.ดี บุ๊คสโตร์.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.
Van den Heuvel-Panhuizen, M., & Drijvers, P. (2014). Realistic mathematics education Encyclopediaof mathematics education (pp. 521-525): Springer. Hilgard