อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับความรักจากเพลงภาษาญี่ปุ่น

Main Article Content

นภสร อิงสถิตธนวันต์
อาจารย์ ดร.สุนทรี คันธรรมพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับความรักจากเพลงภาษาญี่ปุ่น โดยใช้แนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชานของเลคอฟและจอห์นสัน (1980) ในการพิจารณาหาถ้อยคำอุปลักษณ์ที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบ สมมติฐานคืออุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความรักในเพลงภาษาญี่ปุ่นมีการเปรียบกับธรรมชาติมากที่สุด โดยเก็บรวบรวมเพลงภาษาญี่ปุ่นจากชาร์ต Billboard Japan ประจำปี 2020 โดยเลือกเฉพาะเพลงที่เป็นภาษาญี่ปุ่นแต่งโดยคนญี่ปุ่นเพื่อที่จะสามารถรับรู้เฉพาะมโนทัศน์ของคนญี่ปุ่นเท่านั้น จำนวนทั้งหมด 55 เพลง จากนั้นวิเคราะห์ถ้อยคำที่พบในเพลงญี่ปุ่นว่าจัดอยู่ในอุปลักษณ์ประเภทใด จากการศึกษาพบประเภทอุปลักษณ์ทั้งหมด 8 ประเภทเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1. ความรักคือธรรมชาติ 2. ความรักคือการเดินทาง 3. ความรักคือสิ่งของ 4. ความรักคือการแสดง 5.ความรักคือความเจ็บป่วย 6. ความรักคืออาหาร 7. ความรักคือสิ่งเหนือธรรมชาติ 8. ความรักคือของเหลวในภาชนะบรรจุ โดยพบจำนวนอุปลักษณ์ “ความรักคือธรรมชาติ” มากที่สุด จำนวน 25 คำ จากถ้อยคำอุปลักษณ์ทั้งหมด 86 คำ คิดเป็นร้อยละ 29.07 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษา แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างมาก อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นมีการนำประสบการณ์หรือสิ่งใกล้ตัวในชีวิตประจำวันมาใช้เป็นมโนทัศน์ต้นทางในการเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจความรักที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจนขึ้น

Article Details

How to Cite
อิงสถิตธนวันต์ น., & คันธรรมพันธ์ ส. (2021). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับความรักจากเพลงภาษาญี่ปุ่น. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 43(1), 49–68. https://doi.org/10.1016/manutparitat.v43i1.248282
บท
บทความวิจัย

References

กรกนก รัมมะอัตถ์. (2556). การเปรียบเทียบอุปลักษณ์ความรักในเพลงไทยลูกทุ่งกับเพลงไทยสากล. บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิธิพัฒน์ สินเพ็ง. (2560). มาตรการความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านในประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2: ผลกระทบ
และความทรงจำของคนญี่ปุ่นต่อสงคราม. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 34(2): 114.
ปัณณวัฒน์ บำรุง. (2018). การเล่าเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่นทางรายการสารคดีโทรทัศน์ไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม,
21(39): 47-57.
สุภาวดี รัตนมาศ, และเมธา ชูเชิดเกียรติสกุล. (2003). ศาลาไทยและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. วารสารวิชาการ
สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม, 1(1): 19-24.
ศรณ์ชนก ศรแก้ว. (2560). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคคลที่สามของความรักในเพลงไทย. ภาควิชา
ภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Lakoff and Johnson. (1980). Metaphors We Live By. Chicago: University of Chicago.
Nakao Manami, Nabeshima Hiroshi Jirou. (2014). Where Affection Turns into Commitment: A Metaphorical Analysis of Two Words for Love in Japanese Pop Lyrics. 英米文學英語學論集,
3: 21-44
Ooishi Toru. (2008). A contrastive study on metaphors of feeling in Japanese and English. 日本認知
言語学会論文集, 8: 274-284
Sato, Yoshiaki. (1999). The History of J-pop. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2021. จาก https://www.t-fukuya.net/j-
pop.