ปัจจัยจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศของเยาวชนเจเนอเรชั่นซี (Gen-Z)

Main Article Content

ฐานนันท์ มณีโชติ
ธนภรณ์ พืชพันธ์ไพศาล
สุพิชญา มงคลสมัย
สุวิมล ส่งศรี
อิสริยาพร มหาตมัน
ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ
ชาญ รัตนะพิสิฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศของเยาวชนเจเนอเรชั่นซี เมื่อจำแนกตามเพศ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยทางสังคม 3) ทำนายทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศโดยใช้ปัจจัยจิตสังคม เมื่อจำแนกตามเพศและชั้นปี โดยใช้แนวคิดจากทฤษฎีของนิวซัมและคาเรล กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนเจเนอเรชั่นซี ในประเทศไทยซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 220 คน สถิติทีใช้ ได้แก่ สถิติพรรณนา การทดสอบค่าที การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหูคุณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาปริญญาตรีเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศมากกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชาย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) ปัจจัยทางจิตลักษณะกับทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศไม่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนปัจจัยทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  และ .01 ตามลำดับ 3) ปัจจัยทางจิตสังคมสามารถร่วมกันทำนายทัศนคติไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศของเยาวชนเจเนอเรชั่นซี ได้ร้อยละ 36.8 โดยตัวแปรที่สามารถทำนายได้ คือ ตัวแบบจากสื่อและตัวแบบจากเพื่อน ตามลำดับ


คำสำคัญ: การคุกคามทางเพศ เยาวชนเจเนอเรชั่นซี ปัจจัยจิตสังคม

Article Details

How to Cite
มณีโชติ ฐ., พืชพันธ์ไพศาล ธ., มงคลสมัย ส., ส่งศรี ส., มหาตมัน อ., สิทธิ์ศิรอรรถ ฉ. ., & รัตนะพิสิฐ ช. . (2021). ปัจจัยจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคุกคามทางเพศของเยาวชนเจเนอเรชั่นซี (Gen-Z). วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 43(2), 52–71. https://doi.org/10.1016/manutparitat.v43i2.249618
บท
บทความวิจัย

References

กัญญณัฐ พลอยกระจ่าง. (2558). พฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นแบบกลุ่ม (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Kanyanat_P.pdf

ครีเอทีฟ ทอล์ค. (2563). สำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย 4 Generations. สืบค้นจาก https://creativetalklive.com/thailand-internet-use-behavior-of-4-generations

จิราภรณ์ ตามประวัติ. (2547). ผลการสร้างความตระหนักในเรื่องเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่มีต่อทัศนคติทางเพศในการรักนวลสงวนตัวของวัยรุ่นหญิงที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเองและบุคลิกภาพแตกต่างกัน (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Dev_Psy/Jiraporn_T.pd

ชยรพ ประทิศ. (2561). ทัศนคติ การเรียนรู้ และพฤติกรรมการติดตามผลงานของธัญญ่า อาร์สยาม: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี). สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3756/1/chayarop_prat.pdf

ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล. (2555). ผลกระทบของงานโฆษณาที่มีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน กรณีศึกษา : เยาวชนชุมชนสวนอ้อย (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/753/1/176-55.pdf

ชุติมา ชุณหกาญจน์. (2550). พฤติกรรมการเลียนแบบวัฒนธรรมของวัยรุ่นไทยจากสื่อบันเทิงเกาหลี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/52048/3/chutima_ch_ch4.pdf

เชาวลิต ศรีเสริม, ทัศนา ทวีคูณ, และ พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2564, มกราคม-เมษายน). การเห็นคุณค่าในตนเอง ทัศนคติต่อพฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์และพฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(1). สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/250946/170628

ดลชนก นะเสือ. (2559). ปัจจัยด้านทัศนคติและความคุ้มค่าในการทำประกันชีวิตของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, เพรชบุรี). สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1629/1/57602387.pdf

ทัศนีย์ สาลีโภชน์. (2560). #MeToo เราล้วนเคยถูกล่วงละเมิด. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/348

ทิพวัลย์ ศรีรักษา. (2561). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับกรณีการคุกคามทางเพศโดยการเฝ้าติดตามก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และข่มขู่ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/5529/9/บทที่%202%20.pdf

ไทยคอนเซนท์. (2562). การโทษเหยื่อคืออะไร. สืบค้นจาก https://www.thaiconsent.in.th/article/what-is-victim-blaming/

ธนภูมิ ธรรมบุตร. (2563, กุมภาพันธ์). ทัศนคติและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1). สืบค้นจาก http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/824/663

นภาพร ด่านแก้ว. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_SLM/Napaporn_D.pdf

นันทวรรณ ควรขจร. (2558). การเปิดรับทัศนคติและแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อรายการข่าวภาคเช้าทางสถานีโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5707010525_4317_3049.pdf

ประณต เค้าฉิม. (2549). ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคม ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 12(1), 72-93. สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SWU.res.2006.42

ปิยะนันท์ บุญณะโยไทย. (2556). การรับรู้ และ ทัศนคติ ของผู้บริโภคต่อสื่อกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/148539.pdf

พิมพ์ชนก นุชเนตร. (2560). การเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และพฤติกรรมการเลียนแบบจากรายการเซเลบบล็อก (สารนิพนธ์สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี) สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3126/1/pimchanok_nutc.pdf

ภาวศุทธิ อุ่นใจ, มานพ ชูนิล, และ ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2558, มกราคม-มิถุนายน). โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตอบสนองต่อการถูกคุกคามทางเพศ ในที่ทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเพศหญิง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(13), 144-152. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/54529

มติชนออนไลน์. (2563). ดราม่าหนัก!! ชาวเน็ตวิจารณ์ ‘โหน่ง ชะชะช่า’ คุกคามทางเพศ-ละเมิดเด็ก เล่นเลิฟซีนจนร้องไห้ตัวสั่น. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/entertainment/news_2392173

มัลลิกา อุกฤษฏ์, คัคนางค์ มณีศรี, และ อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางเฟมินิสต์เชิงบวกและการถูกกระทำรุนแรงในคู่รัก: อิทธิพลส่งผ่านของการเห็นคุณค่าในตนเองและอำนาจในความสัมพันธ์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(22). สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/swurd/article/view/12103/10306

รุจน์ หาเรือนทรง. (2564). การเปลี่ยนแปลงทางสังคม : ปัญหาสังคม. สืบค้นจาก http://pikul.sw2.ac.th/images/user/root/soc31101/4soc.pdf

วิชญ ผาติหัตถกร. (2554). ผลของดนตรีคลาสสิคต่อผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว-แสดงตัว (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Dev_Psy/Vichaya_P.pdf

วิภาดา สำราญทรัพย์สิน. (2546). ปัจจัยทางชีวสังคมและบุคลิกภาพเก็บตัว-แสดงตัวกับทัศนคติในการมีคู่ครองของพนักงานเอกชน ด้านสื่อสารเทคโนโลยี (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Dev_Psy/Wiphada_S.pdf

วิวรรษา แซ่เจี่ย. (2561). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว ที่มีผลต่อความเข้มแข็งทางใจ ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี). สืบค้นจาก https://soreda.oas.psu.ac.th/files/1031_file_Chapter2.pdf

สุทธิวรรณ ชินสาย. (2548). เจตคติพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Hea_Ed/Suthiwan_C.pdf

Christensen, R. B. (1985). Self Esteem and Adolescent Sexual Attitudes and Behavior (Master's thesis, Utah State University, Utah). Retrieved from https://digitalcommons.usu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=3508&context=etd

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J.,& Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.