การจัดการพื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิงโดยชุมชนฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี มหรรณพกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการ, พื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิง, แม่น้ำปิง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิง การจัดการพื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิง และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิงในอนาคตโดยชุมชนฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่ชายตลิ่ง ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิง มีการเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ การจัดการพื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิง มีการใช้บทบาทของเทศบาล ผู้นำชุมชน นายอำเภอ หลักการต่อสู้ทางกฎหมาย การเจรจาต่อรอง การปลูกต้นไม้ การจัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำปิง และการบูรณาการกิจกรรมแผนงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ แนวทางการจัดการพื้นที่ชายตลิ่งแม่น้ำปิงในอนาคตโดยชุมชนฟ้าฮ่าม ได้แก่ การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกต่อแม่น้ำให้ประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ

References

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2536). น้ำปิงวิกฤต-บทเรียนจากเชียงใหม่. แม่ปิงวิกฤติ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
ประสาน ตังสิกบุตร. (2550). สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระกฤษตธี สุนันตา. (2548). การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ระบบนิเวศชุมชน บ้านป่าตึงหลวง ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

มนัส สุวรรณ. (2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม หลักการและแนวคิด รวมบทความด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สุวารี วงศ์กองแก้ว. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและสภาพภูมิทัศน์ของลำน้ำปิง. (ม.ป.ท. : ม.ป.ป.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-30