จ่าแซม : การสื่อสารความทรงจำร่วมในสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • Phra Raphin Wongpromma Mahachulalongkornrajavidyalaya University

คำสำคัญ:

Sergeant Sam, Communication Collective Memory , Electronic Media

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่อสารความทรงจำร่วมเพื่อสื่อความหมายจ่าแซมในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทข่าวออนไลน์และบทเพลง จำนวน 30 ตัวบท (Text) โดยมีกลุ่มข้อมูลหรือตัวบทที่ใช้ศึกษา 3 กลุ่มข้อมูล คือ 1) ข่าวการสร้างอนุสรณ์สถานของจ่าแซมในข่าวออนไลน์ 2) ข่าวสิ่งประดิษฐ์แคปซูลจ่าแซม 3)บทเพลงวีรบุรุษจ่าแซม ทั้งนี้ กลุ่มข้อมูลตัวบทดังกล่าวจำแนกวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็น 2 ประเภท คือ 1) สารประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ ข่าวการสร้างอนุสรณ์สถานของจ่าแซมในข่าวออนไลน์ ข่าวสิ่งประดิษฐ์แคปซูลจ่าแซม 2) สารประเภทจรรโลงใจ ได้แก่ บทเพลงวีรบุรุษจ่าแซม และผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่อสารความทรงจำร่วมเพื่อสื่อความหมายจ่าแซมมีกลวิธีทางภาษา 3 กลวิธี ดังนี้ 1) กลวิธีทางศัพท์ ประกอบด้วย 1.1)การสื่อความหมายความทรงจำนัยตรง 1.2)การตั้งชื่อเพื่อสื่อความหมายอนุสรณ์ 1.3)การใช้คำที่มีความหมายเชิงบวก ประกอบด้วย การใช้คำระบุลักษณะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คำที่สื่อความหมายถึงการสรรเสริญ 2) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ประกอบด้วย 2.1)การใช้วัจนกรรมแสดงความรู้สึก 2.2)การใช้วัจนกรรมบอกข้อเท็จจริง ประกอบด้วย การใช้วัจนกรรมบอกข้อเท็จจริงของภาครัฐ การใช้วัจนกรรมบอกข้อเท็จจริงของภาคเอกชน 3) การใช้ประเพณี

References

academic article aimed at examining the language strategies used to communicate Sergeant Sam shared memories to convey meaning in electronic media, online news and music. Data for the analysis came from 30 text, With data used to study 3 data groups: 1) News of the construction of the monument of Sergeant Sam in the online news 2) News about Sergeant Sam's capsule inventions
3)The song about Sergeant Sam heroes Such data is classified into two types of communication content:
1) informational content such as News of the construction of the monument of Sergeant Sam in the online news Sergeant Sam's capsule artifact 2) persuasive content such as Sergeant Sam Song. It was found that the contents of language strategies used to communicate shared memories to convey meaning Sergeant Sam has four language strategies such as 1) lexical strategies consist of 1.1) denote meaning for memory communication 1.2) Naming for the meaning of the memorial 1.3) positive meaning consist of lexical of satisfactory characteristics, lexical of praise 2) pragmatic strategies consist of speech acts of representatives by government sector, speech acts of representatives by private sector 3) Using tradition

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30