บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบเพื่อทำนายความวิตกกังวลทางสังคม ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบ, ความวิตกกังวล, ความสัมพันธ์พหุคูณ, ภาคใต้, ประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบเพื่อนทำนายความวิตกกังวลทางสังคมของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย 2. เพิ่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบเพื่อทำนายความวิตกกังวลทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในภาคใต้ของประเทศไทย ตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติ x2 = 91.42, p = .07, df = 73, x2 /df = 1.25, RMSEA = .02, SRMR = .05, RMR = .01, CFI = 1.00, GFI = .97 และ AGFI = .94 ยืนยันว่าบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบร่วมกันสามารถ อธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวล ได้ด้วยค่าความถูกต้องร้อยละ 25.00 ซึ่งบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวและคติสมบูรณ์แบบมีอิทธิพลทางบวกต่อความวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรคติสมบูรณ์แบบมีอิทธิพลต่อความวิตกกังวลสูงสุด รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว
References
กุลปริยา ศิริพานิช. (2559). บทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่านของความยืดหยุ่นทางจิตใจ ในความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการเข้าสังคมกับสุขภาวะทางจิตในนิสิตนักศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
จำลอง ดิษยวณิช และ พริ้มเพรา ดิษยวณิช. (2545). ความเครียด ความวิตกกังวล และสุขภาพ. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นงค์นุช แนะแก้ว. (2560). ความเครียด ความวิตกกังวล และ การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลันในหอผู้ป่วยวิกฤติ โรคหัวใจ. กรุงเทพฯ: งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์, โรงพยาบาลศิริราช.
สุรพงษ์ ชูเดช และวิ ภาวี เอี่ยมวรเมธ. (2545). ตัวแปรในการทำนายสุขภาพจิตและการปรับตัวของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 25(3), 215-232.
อรนุช ศรีคำ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวทางสังคมของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(ฉบับพิเศษ), 292-301.
Costa, P. T. & MacCrae, R. R. (1992). Revised NEO Personality Inventory (NEO-PI-R) and NEO Five-Factor Inventory (NEO-FFI) professional manual. Odessa, FL: Psychological Assessment Resources.
Dunkley, D. M., Blankstein, K. R., Masheb, R. M. & Grilo, C. M. (2006). Personal standards and evaluative concerns dimensions of “clinical” perfectionism: A reply to Shafran et al. (2002, 2003) and Hewitt et al. (2003). Behaviour research and therapy, 44(1), 63-84.
Flett, G. L., Greene, A. & Hewitt, P. L. (2004). Dimensions of perfectionism and anxiety sensitivity. Journal of Rational-Emotive & Cognitive-Behavior Therapy, 22(1), 39-57.
Flett, G. L., & Hewitt, P. L. (2014). A proposed framework for preventing perfectionism and promoting resilience and mental health among vulnerable children and adolescents. Psychology in the Schools, 51(9), 899-912.
Flett, G. L., Hewitt, P. L. & Heisel, M. J. (2014). The destructiveness of perfectionism revisited: Implications for the assessment of suicide risk and the prevention of suicide. Review of General Psychology, 18(3), 156.
Frost, R. O., Marten, P., Lahart, C. & Rosenblate, R. (1990). The dimensions of perfectionism. Cognitive therapy and research, 14(5), 449-468.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.
Kotov, R., Watson, D., Robles, J. P. & Schmidt, N. B. (2007). Personality traits and anxiety symptoms: The multilevel trait predictor model. Behaviour research and therapy, 45(7), 1485-1503.
Leong, J., Cobham, V. E., De Groot, J. & McDermott, B. (2009). Comparing different modes of delivery. European child & adolescent psychiatry, 18(4), 231-239.
Mattick, R. P. & Clarke, J. C. (1998). Development and validation of measures of social phobia scrutiny fear and social interaction anxiety. Behaviour research and therapy, 36(4), 455-470.
Naragon-Gainey, K. & Watson, D. (2011). Clarifying the dispositional basis of social anxiety: A hierarchical perspective. Personality and individual Differences, 50(7), 926-934.
Phokhasawadi, S., Yeong, A. P. A. & Wattanapailin, A. (2015). Cognitive Behavior Therapy to Reduce Symptoms of Anxiety Disorders with Adolescents: Evidence-Based Nursing. Journal of Nursing Science, 32(4), 7-14.
Terracciano, A., McCrae, R. R. & Costa, P. T. (2010). Intra-individual change in personality stability and age. Journal of Research in Personality, 44(1), 31-37.