นโยบายผู้นำตามโครงการโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ชยพล คำสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • วีรนุช พรมจักร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

นโยบายผู้นำ, โครงการโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ, คุณภาพชีวิตของประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์นโยบายโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ
2) นโยบายของผู้นำตามโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดเลย และ 3) ผลของการนำนโยบายโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดเลย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากกลุ่มป้าหมาย จำนวน 23 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลโดยใช้หลักพรรณาวิธี

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การรับนโยบายจากรัฐบาลสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร มีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนนโยบายให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่โครงการได้กำหนดไว้ ตามทฤษฎี SWOT Analysis
  2. มีการถ่ายทอดการน้อมนำเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่ผู้นำของชุมชนและกระจายไปสู่เกษตรกร มีการนำนโยบายลงสู่พื้นที่โดยกรมพัฒนาชุมชน และทำเอกสารมาถึงจังหวัดเลย จากนั้นสั่งการให้แต่ละอำเภอประชาสัมพันธ์ให้กับผู้นำชุมชนเพื่อกระจายข่าวสารให้กับเกษตรกร และการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับโครงการคือ การพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าให้มีความอุดมสมบูรณ์

3. การเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรด้านกายภาพ คือพื้นที่ได้รับการปรับให้เข้ากับรูปแบบของโครงการโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ เกิดสภาพพื้นที่มีความสวยงาม เกิดประโยชน์สูงสุดของการใช้พื้นที่ ด้านคุณภาพชีวิต สุขภาพกาย และใจดีขึ้น ความสัมพันธ์ในครอบครัวอบอุ่น บริโภคอาหารปลอดสารพิษ และด้านเศรษฐกิจทำให้เกษตรกรลดรายจ่ายเพิ่มรายได้จำหน่ายสินค้าเกษตรในชุมชน

References

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา และอัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2561). โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2561-2565: รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:181628

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.https://digital.library.tu.ac.th/u_dc/frontend/Info/item/dc:93412

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3784

มุกดา สุนทรรัตน์. (2547). การสร้างคนไปสู่ผู้นำขององค์กรในอนาคต. การบริหารคน, 3(24), 49-50.

รุจิกาญจน์ สานนท์ และนิติพัฒน์ กิตติรักษกุล. (2564). การประยุกต์ใช้โคกหนองนาโมเดลสำหรับการจัดการเกษตรในเมืองเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2564. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 137-150. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/view/251893

วราภรณ์ บุญเพชร. (2563). การนำแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติผ่านโครงการ “โคก หนอง นา”: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดระนอง พรก. เงินกู้แก้ไขปัญหาโควิด 2563. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิชัย พันธเสน. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

อัษฎาวุฒิ พฤฒิวรวงศ์. (2563). การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ศึกษาเฉพาะเขตอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30