รูปแบบการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารสถานศึกษา, นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา, การจัดการนวัตกรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษารูปแบบการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา 3) ประเมินผลของรูปแบบการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 86 คน และผู้บริหารสถานศึกษาจากสถานศึกษาที่มีผลงานด้านการจัดการนวัตกรรม ระหว่างปี พ.ศ.2565 – พ.ศ. 2566 จำนวน 3 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันของการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการสะท้อนผลการใช้นวัตกรรม ลำดับที่ 2 ด้านการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการด้านนวัตกรรม ลำดับที่ 3 ด้านการคิดออกแบบสร้างนวัตกรรม ลำดับที่ 4 ด้านการปรับปรุงและพัฒนา และลำดับที่ 5 ด้านการวางแผนการจัดการนวัตกรรม
- รูปแบบการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู พบว่า ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ และ 4) แนวทางการประเมิน
- ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 15 คน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
References
จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. รัตนสุวรรณการพิมพ์.
นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Intellectual Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5039
นัทธี จิตสว่าง. (2555, 9 สิงหาคม). การขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรภาครัฐ. GotoKnow. https://www.gotoknow.org/posts/497548
นิสรา ใจซื่อ. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำเชิงนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(4), 40-54.
บันลือ พฤกษะวัน. (2548). การบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. สตรีเนติศึกษา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ประไพ กิตติบุญถวัลย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา และ Samuel Umereweneza. (2561). การสะท้อนคิด: จากประสบการณ์ที่ล้ำค่าสู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 102-110. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/131788
พงษ์ศักดิ์ พลทาแก้ว. (2563). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม. วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2(3), 52-69. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/242659
พงษ์ศักดิ์ วงษ์ป้อม, พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ, และสมคิด สร้อยน้ำ. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่มาตรฐานสากลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3826-3842. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/190509
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,.
สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564, 9 กรกฎาคม). Workplace Happiness วิธีสร้างความสุขในการทำงานให้ยั่งยืน. HREX.asia. https://th.hrnote.asia/tips/workplace-happiness-210708
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการบริหารจัดการระบบคุณภาพ. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 193-213. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/238013
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การบริหารสู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา. ตักสิลาการพิมพ์.
Alharbi, I. (2021). Innovative Leadership: A Literature Review Paper. Open Journal of Leadership, 10(3), 214-229. https://doi.org/10.4236/ojl.2021.103014
Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism: their form and function in education evaluation. The Journal of Aesthetic Education, 10(3/4), 135.
Ericksen, P. (2008). Global environmental change and food security. Global Change Newsletter.
Goffin, K. & Mitchell, R. (2016). Innovation management: effective strategy & implementation (3rd ed.). Palgrave Macmillan
Richard, P., Devinney, T., Yip, G., & Johnson, G. (2009). Measuring organizational performance towards methodological best practice. Journal of Management, 35(3), 718-804. http://dx.doi.org/10.1177/0149206308330560