รูปแบบการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

ผู้แต่ง

  • ทรงภพ พรหมวงศ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, การจัดการเชิงพื้นที่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึ่งประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 จำนวน 108 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบัน ค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์ ดัชนีความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า

สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (𝑥̅ = 3.83) ด้านการมีส่วนร่วม (𝑥̅ = 3.79) ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน (𝑥̅ = 3.78) ด้านการพัฒนาสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ (𝑥̅ = 3.74) ด้านการกระจายอำนาจ (𝑥̅ = 3.64) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามลำดับ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (𝑥̅ = 4.63) ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน (𝑥̅ = 4.58) ด้านการพัฒนาสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ (𝑥̅ = 4.57) ด้านการกระจายอำนาจ (𝑥̅ = 4.55) ด้านการมีส่วนร่วม (𝑥̅ = 4.54) และลำดับความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการกระจายอำนาจ (PNImodified = 0.250) ด้านการพัฒนาสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ (PNImodified = 0.221) ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน (PNImodified = 0.212) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (PNImodified = 0.208) และด้านการมีส่วนร่วม (PNImodified = 0.200) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย 4.72 ความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ย 4.79 ความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ย 4.89

References

ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

นิพันธ์ ยอดดี (2564). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

บุญเพิ่ม สอนภักดี, ฉลอง ชาตรูประชีวิน, และสุกัญญา แช่มช้อย. (2559). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 99-113. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/70960

ประจวบ หนูเลี่ยง, เด่น ชะเนติยัง, และนวลพรรณ วรรณสุธี. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา แบบมีส่วนร่วมของจังหวัดพัทลุง. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2), 232-253. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/43218

พชรภรณ์ สิงห์สุรี. (2558). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มนต์นภัส มโนการณ์ (2561). การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 19(1), 1-15.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บุ๊ค พอยท์.

วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 320-332. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/242784

วาลิกา อัครนิตย์, ไชยา ภาวะบุตร, และเพลินพิศ ธรรมรัตน์ ธรรมรัตน์. (2563). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 14(3), 72-80. https://so03.tcithaijo.org/index.php/reru/article/view/235936

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 1-7. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55490

สมาน อัศวภูมิ. (2557). การบริหารสถานศึกษาตามแนวการปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ (ฉบับปรับปรุง). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563ก). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของภาคประชาสังคม/ผู้มีส่วนได้้ส่วนเสียตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... . กระทรวงศึกษาธิการ. https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1753-file.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563ข). ภาคประชาสังคมเพื่อการศึกษา. คณะอนุุกรรมการสภาการศึกษาด้านบทบาทของภาคประชาสังคมเพื่อการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). รู้จักและเข้าใจการมีส่วนร่วมในการจัดการเชิงพื้นที่. กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). เอกสารคำสอน รายวิชา0501702 หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. ภาคการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธัญรัตน์ ใจขันธ์. (2565). แนวทางการบริหารเครือข่ายกลุ่มโรงเรียนเขตอำเภอบางระกำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Delancy, R. K. (2000). Parent Participation in District-evel Curriculum Decision Decision-Making: A Year in the Life of a School District [Unpublished doctoral dissertation]. University of Washington

Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10(3/4), 135-150. https://doi.org/10.2307/3332067

Gustavo, W. (1992). The meaning of participation. Habinet.

Pryor, J. (2005). Can Community Participation Mobilise Social Capital for Improvement of Rural Schooling? A Case Study from Ghana. Journal of Taylor and Francis, 35(2), 193-203. https://doi.org/10.1080/03057920500129882

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

พรหมวงศ์ ท. (2024). รูปแบบการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ปัญญา, 31(3), 15–24. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/277760