แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

คนึงนิจ วิจิตรปัญญา
วานิช ประเสริฐพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 รวมทั้งสิ้น 187 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และดัชนีความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNImodifieds)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ด้านการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ ด้านการบริหารคุณภาพของสถานศึกษา และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ด้านการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และด้านการบริหารคุณภาพของสถานศึกษา
2. ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการบริหารคุณภาพของสถานศึกษา ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ ด้านการให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ และด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กฤษณา สารบัณฑิตกุล. (2559). แนวทางแก้ไขปัญหาการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาในเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอแม่ทาที่ 1 จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: วิทยาลัยเชียงราย.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

ตุ๊กตา สิมาเลาเต่า. (2555) การจัดการศึกษาปฐมวัยตามเกณฑ์มาตรฐาน ด้านการบริหารและการจัดการศึกษากับพัฒนาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(1), 95-100.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2545). สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชกุมารฯ สยามบรมราชกุมารี.

บัลลังก์ จันทบูร์. (2545). แนวทางการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วสุกฤต สุวรรณเทน และวัลนิกา ฉลากบาง. (2559). คุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย: ปัจจัยเชิงสาเหตุ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 151-164.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.