รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวพุทธวิธี วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระศศิพงษ์ ธมฺมวโร (ชัยสิทธิ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • วิทยา ทองดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • นิรัช เรืองแสน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุรีพร ชาบุตรบุณฑริก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ปัญหาเป็นฐาน, พุทธวิธี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 2) เสนอแนวทางการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวพุทธวิธี วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงประมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน จำนวน 102 คน ซึ่งได้มาจากทฤษฎีของ Krejcie and Morgan โดยการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน จำนวน 10 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. บริบทการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวพุทธวิธี วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวพุทธวิธี โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรและสาระการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
3. แนวทางการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวพุทธวิธี คือ 1) ด้านหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ 2) ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายทันสมัย 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียน เกิดความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน 4) ด้านการวัดและประเมินผล ตามสภาพจริง ทั้งก่อนและหลังเรียน

References

พระครูสิริปัญญาภรณ์ (สุธีร์ วิสุทฺโธ/ตันโห). (2557). การศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีการสอนพระราหุล. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรีพร ชาบุตรบุณฑริก. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคม ศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 19. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัมพร จำเริญพานิช. (2556). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องปัญหาธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดกาแพง (อุดมพิทยากร) จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Krejcie. R. V. & Morgan. D. W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 707-710.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)