การจัดกิจกรรมคลายทุกข์ตามแนววิถีพุทธในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

Main Article Content

พระทนงศักดิ์ จารุธมฺโม (เสริฐแสงดี)
วิทยา ทองดี
สมควร นามสีฐาน
พระประนม ฐิตมโน (กุลภู)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ เปรียบเทียบ และเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมคลายทุกข์ตามแนววิถีพุทธในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสมผสานคือ เชิงปริมาณ และคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 99 คน วิธีการสุ่มตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และหาค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดกิจกรรมคลายทุกข์ตามแนววิถีพุทธในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมคลายทุกข์ ด้านการอบรมสั่งสอน ด้านการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และด้านการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมคลายทุกข์ตามแนววิถีพุทธในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ทั้ง 4 ด้าน มีระดับการปฏิบัติมากไม่แตกต่างกัน และเมื่อแยกเป็นรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3. แนวทางการจัดกิจกรรมคลายทุกข์ตามแนววิถีพุทธในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ได้แก่ 1) ด้าน การอบรมสั่งสอน มีการอบรมสั่งสอนไปในทิศทางเดียวกัน 2) การจัดกิจกรรมของโรงเรียน จัดอบรมเกี่ยวกับปัญหาและวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส 3) การจัดกิจกรรมคลายทุกข์ ให้นักเรียนมีความสุขด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 4) การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวิธีการป้องกันคัดกรองให้กับนักเรียนอย่างเคร่งครัด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

นภชา สิงห์วีรธรรม และคณะ. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 104-115.

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน และมนตรี สิระโรจนานันท์. (2563). พุทธวิธีเพื่อการดูแลตนเองในสถานการณ์โควิด 19. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 16(2), 42-58.

ประยูรศรี กวานปรัชชา พจมาน, ชํานาญกิจ และภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมด้านความมีวินัยสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 52-60.

พระครูวินัยธรสุดใจ ชิตมโน (ฆารประเดิม). (2559). การใช้หลักใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในการบริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมของนักเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 126-136.

รุ่งฟ้า ล้อมในเมือง, นลินรัตน์ อภิชาติ และจันทร์เพ็ญ ภูโสภา. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และการสร้างเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับเยาวชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 121-127.

ฤทธิรงค์ หาญรินทร์ และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2551). การให้การปรึกษาแนวพุทธศาสนารายบุคคลในผู้ป่วยเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(1), 242-251.

Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.