การจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการ โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดอนจานวิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พระจักรพงษ์ คุณวีโร (ภูอุทา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ปาณจิตร สุกุมาลย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, วิชาหน้าที่พลเมือง, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 2) เปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง โดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับชั้นที่ศึกษา และ 3) แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่ พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 เป็นวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 174 คน และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และครูผู้สอน จำนวน 17 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดอนจานวิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
2. เปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 จำแนกตามเพศ อายุ และระดับชั้นการศึกษา พบว่า มีระดับความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่ พลเมือง ตามวิถีประชาธิปไตยแบบบูรณาการโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเป็นพลเมืองดีและประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย การเรียนการสอนจึงมีความจำเป็นเนื่องจากทำหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านความคิด สติปัญญา และการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผลการเรียน ชี้ให้เห็นสภาพที่แท้จริงของผู้เรียน

References

ธนภัทร ทวีศรี. (2557). ประสิทธิผลการบริหารงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมชาย อติพุพโล. (2556). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้อิทธิบาท 4 ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เมย์ อํานวยพันธ์วิไล. (2555). วิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท 4 ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกําแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)