พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สูงอายุตามระบอบประชาธิปไตยในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมทางการเมือง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สูงอายุตามระบอบประชาธิปไตยในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สูงอายุตามระบอบประชาธิปไตยในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สูงอายุตามระบอบประชาธิปไตยในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 377 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน โดยการคำนวณด้วยการใช้สูตร Krejcie and Morgan โดยใช้สูตรจากตำราสำเร็จรูปและการใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสอบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมทางการเมืองของผู้สูงอายุตามระบอบประชาธิปไตยในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อยคือ ด้านการไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านติดตามข่าวสารทางการเมือง และด้านพฤติกรรมทางการเมืองตามหลักสังคหวัตถุ ด้านการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าทุกด้านคือ ด้านการสนับสนุนพรรคการเมือง
2. ผลการการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีพฤติกรรมทางการเมืองในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมทางการเมืองในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองเพิ่มขึ้น ได้รักษาสิทธิของตนเองด้วยการไปเลือกตั้งทุกครั้ง ได้ศึกษาข้อมูลพรรคการเมืองต่างๆ และผู้สมัครรับเลือกตั้งก่อนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยการติดตามข่าวสารทุกช่องทาง โดยได้ยึดมั่นในหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ