พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชน ในอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

Main Article Content

พระมหาสิทธิพงษ์ สุจิณฺณธมฺโม (อุ่นแสนสุข)
สุรพล พรมกุล
ชาญชัย ฮวดศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรม 2) เปรียบเทียบระดับพฤติกรรม และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการส่งเสริมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรในเขตอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย จำนวน 377 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายอำเภอนาด้วง ปลัดอำเภอ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เขตอำเภอนาด้วง นายกเทศมนตรีเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน และอดีตข้าราชการครู จำนวน 12 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านการลงคะแนนเลือกตั้ง และด้านการเลือกตั้งตามหลักสังคหวัตถุ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่นคือ ด้านการตัดสินใจเลือกตั้ง ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า ประชาชนควรใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเสรี เลือกคนที่ดีมีความสามารถไปเป็นตัวแทนของตน ก่อนตัดสินใจ
เลือกตั้ง ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครให้รอบด้าน เช่น แนวคิด นโยบาย การพัฒนาชุมชน สังคม การเสียสละเพื่อส่วนรวมอย่างเสมอภาค มีการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

โกวิทย์ พวงงาม อลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). มิติใหม่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

นุกูล ชิ้นฟัก วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล จิราพร ปลอดนุ้ย. (2561). พฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาตินานาชาติ ครั้งที่ 9 พลวัตการศึกษายุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล, 20 กรกฎาคม 2561, หน้า 1741-1753. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน: ศึกษากรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

พระธรพร คุณสมฺปนฺโน และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสถิต สุทฺธิมโน, สุรพล พรมกุล และปรัชญา มีโนนทองมหาศาล. (2564). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(2), 405-148.

พระสุนทร ธมฺมธโร (บุญคง). (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พันธ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก: ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และวิเชียร ตันศิริคงคล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สนุก สิงห์มาตร. (2559). รูปแบบการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

_______. (2559). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 15(3), 103-118.