สภาพปัญหาของการเรียนรู้ภาษาบาลีในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย ฤทธิร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • โกมินทร์ วังอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วิกรม บุญนุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ปัญหาของการเรียนรู้, ภาษาบาลี, นักเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการเรียนรู้ภาษาบาลีในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาบาลีในโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีพื้นที่การวิจัยคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 333 คน ใช้วิธีสุ่มเลือกโดยการกำหนดสัดส่วนตามจำนวนประชากรในโรงเรียน และกลุ่มประชากรที่เป็นครูผู้สอน จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนส่วนหนึ่งประสบปัญหาในด้านการอ่านภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในตำราเรียน และการฟังภาษาบาลีจากการสื่อสารของครูผู้สอน รวมทั้งจากแหล่งความรู้อื่นที่เข้าถึงได้ มีค่าร้อยละระหว่าง 21.4-23.5 และยังประสบปัญหาเมื่อมีโอกาสนำไปใช้เพื่อการสื่อสารกับสังคม การพูด อธิบายความหมายของภาษาบาลีที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสิ่งที่ได้พบเจอในสังคม
2. แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาบาลีในสาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น ต้องเน้นการพัฒนาทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียนไปด้วยกัน คือ 1) การปรับวิธีการสอนให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายมากขึ้น โดยการอธิบบายแยกศัพท์ตามหลักไวยากรณ์พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 2) การใช้วิธีการสอนใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน เช่น การเรียนรู้ด้วยวิธีการคิดเชื่อมโยงเหตุการณ์ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับกับหลักธรรมเพื่อสร้างข้อสรุปที่ดี 3) การจัดนิทรรศการบูรณาการภาษาบาลีในหลักธรรม แนวคำสอนและการปฏิบัติที่สามารถถ่ายทอดในเชิงศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ และ 4) การเรียนรู้ภาษาบาลีกับผู้รู้ ปราชญ์ศาสนา

References

จุไรรัตน์ สวัสดิ์, เสน่ห์ สวัสดิ์ และวจี พวงมณี. (2559). ศึกษาปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0, 8-9 สิงหาคม 2559, (หน้า 303-311). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ปิยธิดา สุปัตติ. (2562). ปัญหาการฟังภาษาอังกฤษ กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองม่วง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหาประสิทธิ์ ญานปปทีโป และอดุลย์ คนแรง. (2558). บาลีภาษาของพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 7-15.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). กลไกขับเคลื่อนการศึกษาก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. เดลินิวส์, 2 มีนาคม, 15.

มณีรัตน์ เอกโยคยะ. (2558). ความแตกต่างระหว่างการอ่านภาษาที่หนึ่งและการอ่านภาษาที่สองและผลกระทบต่อการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ. ภาษาปริทัศน์, 30, 233-250.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Akamatsu, N. (1998). L1 and L2 Reading: The Orthographic effects of Japanese on reading in English. Language, Culture and Curriculum, 11(1), 9-27.

Brown, G., & Yule. G. (1983). Teaching the spoken language. Cambridge: Cambridge University Press.

Grabe, W. (2010). Reading in a second language, in Kaplan, R.B. (Ed.). (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Takase, A. (2007). Japanese high school students’ motivation for extensive L2 reading. Reading in a Foreign Language, 19, 1-18.

Tang, H. (1997). The relationship between reading comprehension processes in L1 and L2. Reading Psychology: An International Quarterly, 18, 249-301.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)