การมีอยู่ของผีปู่ตาบ้านโนนตุ่นตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระกมลฤทธิ์ ภารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุวิน ทองปั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระโสภณพัฒนบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระเทพปวรเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ผีปู่ตา, ความมีอยู่ของผีปู่ตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีผีปู่ตา 2) ศึกษาสภาพผีปู่ตาบ้านโนนตุ่นตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาการมีอยู่ของผีปู่ตาบ้านโนนตุ่น ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสังเกตพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบพิธีกรรม ชาวบ้าน และผู้มาขอพร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิด ทฤษฎีผีปู่ตา เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นความเชื่อเกี่ยวกับผีหรือวิญญาณที่ปกปักษ์รักษาบ้านเมืองรักษาประชาชน สัตว์เลี้ยงให้มีความร่มเย็น มีความสุขและอยู่รอดปลอดภัยพร้อมทั้งดูแลรักษาพืชพันธัญญาหารให้มีความอุดมสมบูรณ์ และชาวบ้านยังเชื่ออีกว่าผีปู่ตาสามารถขจัดภยันตรายต่างๆ ได้
2. สภาพผีปู่ตาบ้านโนนตุ่นเป็นสภาวะของการมีอยู่ของวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ที่ศาลปู่ตาบ้านโนนตุ่น ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าผีปู่ตาและชาวบ้านเชื่อว่าผีปู่ตาเป็นวิญญาณที่ปกปักรักษาบ้านเมือง ชาวบ้าน สัตว์เลี้ยง พืชพันธัญญาหารให้อุดมสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวบ้านเคารพบูชา บวงสรวงจนกลายเป็นวัฒนธรรม ประเพณีที่ชาวบ้านต้องทำทุกปี
3. การมีอยู่ของผีปู่ตาบ้านโนนตุ่นพบว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิงสถิตอยู่ที่ศาลปู่ตาบ้านโนนตุ่น ซึ่งมีอยู่ใน 3 สถานะคือ 1) ผีปู่ตามีอยู่ในฐานะวิญญาณหรือจิต 2) ผีปู่มีอยู่ในฐานะสัพพฤทธิ์คือ ผีปู่ตามีอำนาจสามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ สัตว์เลี้ยงและพืชพันธัญญาหารได้ 3) ผีปู่ตามีอยู่ในฐานะสัพพญาณคือผีปู่ตามีจิตในการับรู้ ถ้ามีใครมากล่าวร้ายหรือขอพรท่านก็จะรับรู้

References

ประมวล พิมเสน. (2540). ของดีอีสาน. ขอนแก่น: สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.

พระวิศิษฏ์ สุมโน (แทบทาม). (2556). การศึกษาคุณค่าความเชื่อในพิธีกรรมการบูชาปู่ตาของชาวบ้านหนองแวงโสกพระ และชาวบ้านหนองแวงโคตร ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเสกสรร ถาวรจิตฺโต (ศรีเพ็ญรัก). (2564). การวิเคราะห์ความมีอยู่ของเจ้าปู่กุงศรี บ้านหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธ์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอริยานุวัตรเขมาจารีเถระ. (2536). คติความเชื่อของชาวอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม. (2544). พุทธศาสนวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค.

หลวงวิจิตรวาทการ. (2523). ศาสนาสากล เปรียบเทียบศาสนา ลัทธิ และปรัชญาต่างๆ ทั่วโลก. เล่มที่ 2 ว่าด้วยพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: ลูก ส. ธรรมภักดี.

อาหมัดชารีย์ มูเก็ม. (2559). ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรบน พื้นที่บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)