การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ปริสุทธิ์ บุษบา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75 ขึ้นไปและมีนักเรียนผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 75 ขึ้นไป และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้มาโดยการการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ จำนวน 60 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 52.37 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ก็ก่อ พิสุทธิ์ และกัลยรัตน์ ชาวันดี. (2561). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกทักษะโฟนิกส์ออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนและผลการสอบระดับชาติ ปีการศึกษา 2563. กาฬสินธุ์: โรงเรียนเซนต์ยอแซฟกาฬสินธุ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียา โนแก้ว และประนุท สุขศรี. (2548). ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาจารี ศิริรัตนศักดิ์. (2552). กรณีศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดการสอนจอลลี โฟนิคส์. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bloom, B. S. (1976). Taxonomy of Education Objective, Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mckay.

EF Education First. (2017). EF ดัชนีภาษาอังกฤษ ไทยควรเพิ่มทักษะการสื่อสาร. เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/education/news-84621

Jordan, R. R. (1997). English for Academic Purposes: A Guide and Resource Book for Teachers. Cambridge: Cambridge University Press.

Linnea C. E. (2020). The Science of Learning to Read Words: A Case for Systematic Phonics Instruction. Retrieved from https://ila.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/rrq.334

Long, M. H. & Richards, J. C. (1987). Methodology in TESOL, A Book of Readings. New York: Newbury House.

Twinkl. (2021). Phonics. Retrieved from https://www.twinkl.co.th/teaching-wiki/phonics-foni-ks.

Wilkins, D. A. (1972). Linguistics in Language Teaching. Cambridge: MFT Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)