การพัฒนาความสามารถการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการออกแบบสื่ออย่างมืออาชีพ ด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

ผู้แต่ง

  • กันติชา แพงโสดา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สมทรง สิทธิ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

วิธีการสอนแบบสาธิต, บทเรียนออนไลน์, ความสามารถการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนออนไลน์ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีนักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของจำนวนทั้งหมด 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 และมีนักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของจำนวนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาการโรงแรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิทยาลัยอาชีวศึกษาการท่องเที่ยวและการโรงแรมขอนแก่น การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง (Quasi-Experimental Research Design) ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบหลังเรียน (One Group Post Test Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสาธิต ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ของนักศึกษา หลังเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 78.00 และมีนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนทั้งหมด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 76.00 และมีนักศึกษาที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของจำนวนทั้งหมด

References

จารุวรรณ ทูลธรรม และกิตติ ทูลธรรม. (2559). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสาธิตเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะทางการปฏิบัติในเรื่องการใช้งานออสซิลโลสโคป ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคม, 3(2), 45-54.

ชูศรี สนิทประชากร. (2534). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูจันทรเกษม.

ตะวัน คำบก. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่อง ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์. (2540). การออกแบบนิเทศศิลป์ 1 หนังสือคณะศิลปกรรมศาสตร์: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). ท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาการท่องเที่ยวและการโรงแรมขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560-2579). แผนการศึกษาแห่งชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อุทุมพร แก้วทา. (2558). การพัฒนาบทเรียนผ่านสมาร์ทโฟนตามแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2666

Kurubacak, G., & Altinpulluk, H. (2017). Mobile Technologies and Augmented Realityin Open Education. Pennsylvania: Information Science Reference.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)