บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ธัณย์สิตา บุตรจินดาเวศย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุกิจ ชัยมุสิก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่น, การส่งเสริมการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) เปรียบเทียบบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 3) ศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 196 คน และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที (t-test) สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และสถิติเปรียบเทียบเป็นรายคู่ของเซฟเฟ่ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านสังคมวัฒนธรรมและความมั่นคง ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ
2. บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. มีแนวทางส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ คือ ชุมชนท้องถิ่นควรส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ควรมีการจัดให้ชุมชนเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยยังคงอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และมีการจัดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยว

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว. (2564). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

โชติ บดีรัฐ. (2563). บทบาทการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตพื้นที่ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 21(39), 3-16.

ปราณี พลดาหาญ และพิชิต พระพินิจ. (2559). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(37), 47-65.

รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจากการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 127-149.

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เยี่ยมเยือน ณ แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกาะเกร็ด นนทบุรี. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 1(2), 42-52.

ราณี อมรินทร์รัตน์. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวชุมชน: กรณีศึกษาชุมชน 6 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 86-94.

สถาบันพระปกเกล้า. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)