ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
คำสำคัญ:
ปัจจัยคัดสรร, ความผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของครู 2) ระดับความผูกพันต่อองค์การของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของครู และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร จำนวน 341 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเคร็จซี่และมอร์แกน สุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของครู ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารการมอบอำนาจตามโครงสร้างองค์การ การส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของบุคลากร วัฒนธรรมองค์การ ผลตอบแทน การสร้างบรรยากาศในการทำงาน และการได้รับการยอมรับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .93, .92, .87, .87, .93 และ .95 ตามลำดับ และแบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
2. ความผูกพันต่อองค์การของครู ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์การของครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .738
4. ปัจจัยคัดสรร 5 ปัจจัยส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาเรียงตามลำดับ ดังนี้ วัฒนธรรมองค์การ การได้รับการยอมรับนับถือ การมอบอำนาจตามโครงสร้างองค์การ ผลตอบแทน และการสร้างบรรยากาศในการทำงานโดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 59.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
จิระวัฒน์ ตันสกุล. (2558). การพัฒนาโมเดลการวัดและโมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับ ความผูกพันของครู. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุไรวรรณ บินดุเหล็ม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร และสังคมศาสตร. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นรา สมประสงค์. (2562). ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประยงค์ เนาวบุตร. (2562). ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชญาภา ยืนยาว และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบกลไกและระบบการคัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 13-26.
เรืองอุไร โตประภากร. (2561). ปัจจัยแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานประจำปี 2559 สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา: การบูรณาการสู่แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เข้าถึงได้จาก https://library.parliament.go.th
สุชาพร ประเสริฐชาติ, สุรัตน์ ไชยชมพู และธนวิน ทองแพง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 9(2), 333-348.
สุภาพร นิ่มนวล. (2562). ปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของบุคลากรในโรงเรียนเทศบาล จังหวัดสมุทรสาคร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
อนงค์ศิริ โรจนโสดม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). Organizational commitment: Evidence of career stage effect. Journal of Business Research, 26(1), 49-61.
Allen, N. J., Meyer, J. P., & Smith, C. A. (1993). Commitment to organizations and occupations: Some methodological considerations. Journal of Applied Psychology, 78(4), 538-551.
Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (1999). Diagnosing and changing organizational culture: based on the competing values framework. United States: Addison-Wesley.
Cooke, R. A., & Lafferty, J. C. (1989). Organization culture in ventory. Plymouth Ml: Human Synergistics.
Porter, L. W., & Lawler, E. E. (1987). Managerial attitudes and performance. Homewood, IL: Irwin.
Smith, P. C., Kendall, L. M., & Hulin, C. L. (1969). The measurement of satisfaction in work and retirement: A strategy for the study of attitudes. Chicago: Rand Mcnally.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.
Steers, R. M., & Porter, L. W. (1983). Motivation and work behavior. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.