การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษาในเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุทัศน์ อุตฺตโร (จันอากาศ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • วิทยา ทองดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ปาณจิตร สุกุมาลย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • อังคณา ตุงคะสมิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, พระปริยัติธรรมแผนกธรรม, สำนักศาสนศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนและผู้เรียน จำนวน 205 รูป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนจำนวน 112 รูป ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 รูป โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามและแบบสอบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้ววิเคราะห์ด้วยวิธีเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (gif.latex?\bar{x} = 4.05, S.D. = 0.56) ได้แก่ 1) หลักสูตร 2) การจัดการเรียนการสอน 3) สื่อการเรียนการสอน 4) การวัดและประเมินผล 5) ความสัมพันธ์กับชุมชน 6) อาคารสถานที่ 7) การส่งเสริมสนับสนุนจากภายนอก 8) ศักยภาพของครูผู้สอน 9) ปัจจัยด้านแรงขับภายในและแรงจูงใจของผู้เรียน 10) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุดของผู้เรียน 11) ความพึงพอใจต่อผลการจัดการศึกษา
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีการใช้หลักสูตรที่คณะสงฆ์กำหนดขึ้น มีโครงสร้างและเนื้อหาสาระที่แม่กองธรรมสนามหลวงกำหนดให้ แบ่งช่วงเวลาในการจัดการเรียนการสอน 3 ช่วงเวลาตามความเหมาะสม มีสื่อการเรียนการสอนไม่หลากหลาย การผลิตสื่อการเรียนสอนขึ้นมาเองน้อย มีการประเมินผลเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ มีการอบรมก่อนสอบสนามหลวง ชุมชนให้สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมน้อย ห้องเรียนมีขนาดเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน มีการจัดรับทุนการศึกษาหรือเกียรติบัตรแก่ผู้ที่สอบได้เพื่อสร้างแรงจูงใจ การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องน้อย การสนับสนุนจากพุทธศาสนิกชนดีและเหมาะสม จำนวนผู้เรียนน้อยลง การนำสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้น้อย
3. แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ คือ แนวทางการจัดการศึกษา 9 ด้าน เพื่อสามารถนำไปปรับใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกธรรมเชิงรุก ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

References

กรมการศาสนา. (2559). คู่มือการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนธรรม-บาลี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประมูล สารพันธ์ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การศึกษาแนวทางพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุเมธา ยุระชัย. (2561). สภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของคณะสงฆ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

มงคลชัย ศรีสะอาด. (2559). รูปแบบการบริหารงานสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-แผนกบาลี. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)