การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ขวัญใจ พิมพิมล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ ดังนี้ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ (2) เปรียบเทียบผลการทดสอบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการใช้รูปแบบ (3) เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อวิชาชีพครูก่อนและหลังการใช้รูปแบบ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ ประชากรที่ใช้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครู และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น 8 องค์ประกอบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ COTAE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน มีค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 84.46/83.30
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ มีดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการทดสอบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นครูวิชาชีพ โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.57, σ = 0.28)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนที่ 130ง, หน้า 72-74.

จิตตรี จิตแจ้ง และจิตเจริญ ศรขวัญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติวิชาชีพครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 23-36.

จิระ ดีช่วย. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึมร่วมกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางชีววิทยาและความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.thaiedresearch.org

ชญารัตน์ บุญพุฒิกร. (2561). การพัฒนามาตรวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูตามโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ: การทดสอบปรับเหมาะแบบพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยบริการ, 23(2), 152-164.

ผ่องลักษณ์์ จิตต์การุญ. (2547). การสืบสอบลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนม จองเฉลิมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาโนช หัทยามาตย์. (2564). คุณลักษณะครูของโรงเรียนในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 18-24.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิวงศ์.

วิเชียร ภคพามงคลชัย. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เศรษฐศาสตร์มหภาค ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชิลา สวัสดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณในรายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครูของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม. มหาสารคาม: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2558). เจตคติต่อวิชาชีพครูเกษตรของนิสิตฝึกสอน สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ สาขาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

อัครินทร์ ทองขาว. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีการจัดกิจกรรมแบบย้อนกลับ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เครือข่ายสังคมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกพงษ์ ใจสมหวัง. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอส (SQP2RS). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Dick, W., Carey L. and Carey, J. O. (2005). The Systematic Design of Instruction. (5th ed.). New York: Addison-Wesley, Longman.

Joyce, B. and Weil. (2009). Models of teaching. (8th ed.). Boston, ma.: Pearson.

Trilling, B. & Fadel, C. (2009). 21st century skills: learning for life in our times. San Francisco: Jossey-Bass.