การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระมหาวาทิตย์ อภิปุณฺโณ
วิทยา ทองดี
ปาณจิตร สุกุมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดแบบฝึกทักษะรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา จังหวัดมหาสารคามที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา จังหวัดมหาสารคาม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังใช้ชุดแบบฝึกทักษะรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ห้อง จำนวน 185 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยกลุ่มได้ห้อง 5/3 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดแบบฝึกทักษะรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ความแตกต่างของ
ค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระ t (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาชุดฝึกทักษะรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา จังหวัดมหาสารคาม มีประสิทธิภาพ 86.20/89.35
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะรายวิชาพระพุทธศาสนา มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้ชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับพึงพอใจมากในทุกด้านเมื่อจำแนกเป็นด้านพบว่า เนื้อหาที่สอนทันสมัยนำไปใช้ได้จริงมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด และด้านกิจกรรมการเรียนสนุกและน่าสนใจ เป็นด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2552). การพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______ . (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2564). การพัฒนาชุดการเรียนรูปตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(3), 1-13.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผสมพร ประจันตะเสน. (2550). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศของไทย ของนักเรียนชั้น ม.1/3 โรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม ปีการศึกษา 2550 จำนวน 15 คน โดยใช้ชุดฝึกการเรียน 2550. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: โรงเรียนบ้านกร่างวิทยาคม.

พนัส ต้องการพานิช. (2561). ชุดการสอนโน้ตและการใช้ดนตรีประกอบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเครื่องกระทบ. วารสารดนตรีรังสิต, 13(2), 31-44.

พระอธิการมาวิน จนฺทธมฺโม (อ้วนจี). (2561). การพัฒนาชุดการสอนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโดยใช้พุทธวิธีการสอนเรื่อง เบญจศีลเบญจธรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

รำพึง งามตา. (2558). การสร้างชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิไลลักษณ์ อินพุม. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา ประวัติศาสตร์เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกับไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรือน้อย โดยใช้แบบฝึกทักษะทางการเรียน. (รายงานการวิจัย). ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โรงเรียนบ้านปรือน้อย.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.