สมรรถนะผู้จัดการหมู่บ้านของบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ผู้จัดการหมู่บ้าน, อสังหาริมทรัพย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะผู้จัดการหมู่บ้านของบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พนักงานในตำแหน่งผู้จัดการหมู่บ้านของบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 20 คน และตัวแทนลูกบ้านจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแนวแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะผู้จัดการหมู่บ้านของบริษัทอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งมี 7 ด้านประกอบด้วย 1) ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในตำแหน่งผู้จัดการหมู่บ้าน ร้อยละ (100.00) 2) การมุ่งเน้นการบริการที่ดี ร้อยละ (100.00) 3) การมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุก ร้อยละ (93.33) 4) ความรับผิดชอบ ร้อยละ (93.33) 5) ความยืดหยุ่นและการรับแรงกดดัน ร้อยละ (90.00) 6) การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ร้อยละ (90.00) และ 7) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ ร้อยละ (83.33) ผลการศึกษาพบว่าสมรรถนะด้านความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในตำแหน่งผู้จัดการหมู่บ้าน และ สมรรถนะด้านการมุ่งเน้นการบริการที่ดีมีความสำคัญมากที่สุด สมรรถนะอีก 5 ด้านมีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ ผลการจัดขีดความสามารถของสมรรถนะ (Proficiency Level) ซึ่งอธิบายระดับพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถ ความชํานาญ (Expertise) ของผู้จัดการหมู่บ้านมี 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ขั้นพื้นฐาน (Novice) ระดับที่ 2 ขั้นปฏิบัติงาน (Adequate) ระดับที่ 3 ขั้นประยุกต์ใช้ (Develop) ระดับที่ 4 ขั้นก้าวหน้า (Advance) และระดับที่ 5 ขั้นเชี่ยวชาญ (Expert) และมีการกำหนดระดับพฤติกรรมที่แสดงออกตามสมรรถนะ (Competency Description) ผู้จัดการหมู่บ้านของบริษัทอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งไว้ 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 ประกอบด้วย ชื่อสมรรถนะ นิยามศัพท์สมรรถนะ ระดับสมรรถนะ และคำอธิบายพฤติกรรมที่แสดงออกในแต่ละระดับสมรรถนะ
References
ชิสากัญญ์ ปภาพันธ์เกียรติ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้จัดการนิติบุคคลสำหรับองค์กรเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธัญยธรณ์ ศรีเสาวลักษณ์. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พลช เพชรปานวงศ์ และ คณะ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของคนเจนเนอเรชั่นวาย. (สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ยุทธพงษ์ อรัญกานนท์ และคณะ. (2564). แนวทางการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค หมู่บ้านพฤกษา 83 บรมราชชนนี จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยทองสุข.
วีณา ถิระโสภณ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วีณา ศรีเจริญ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในเขตจังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศจิกา ศรีนวล. (2561). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรของประชากรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิธร จิมากรณ์. (2556). สมรรถนะหลักกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเลขานุการ สำนักงาน ศาลยุติธรรม. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2565). รายงานแนวทางการพัฒนาดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย). เข้าถึงได้จาก https://www.reic.or.th/Research/REICReport/1805
อธิฐาน คงช่วยสถิตย์ และคณะ. (2562). แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะของผู้จัดการร้านเซเว่นอีเลฟเว่นของร้านบริษัท และร้านแฟรนไชส์ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(3), 119-125.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2549). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อารียา จารุภูมิ. (2559). การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลของหน่วยงานราชการ. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.